ประสิทธิผลของการให้ทันตสุขศึกษาร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นฟันดีสำหรับส่งเสริม ทันตสุขภาพในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
คำสำคัญ:
แอพพลิเคชั่น, การให้ทันตสุขศึกษา, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้ทันตสุขภาพร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นฟันดีสำหรับส่งเสริมทันตสุขภาพในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของโคเฮน ได้จำนวน 58 คน คือ อสม. เป็นกลุ่มทดลอง 29 คน และกลุ่มควบคุม 29 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการให้ทันตสุขศึกษาร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นฟันดี ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับเอกสารความรู้สำหรับส่งเสริมทันตสุขภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามพฤติกรรม และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้แอพพลิเคชั่นฟันดี วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test, Wilcoxon Signed Rank test และ Mann-Whitney U test
ผลการศึกษาพบว่า ภายในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
(p<0.001) โดยคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ย 9.31 (SD=2.14) และ 3.26 (SD=0.20) ตามลำดับ หลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปาก มีค่าเฉลี่ย 13.72 (SD=1.06) และ 3.12 (SD=0.19) ตามลำดับ หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปาก ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยความรู้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน แต่คะแนนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปาก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.002) ความคิดเห็นต่อแอพพลิเคชั่นฟันดีโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก (M=4.76, SD=2.56)
ข้อค้นพบของการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การให้ทันตสุขศึกษาร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นฟันดีสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้ดีขึ้นได้
References
Aoluk Hospital. (2018). Report Dental Caries. Ministry of Public Health: Krabi.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Bloom, B. S. (1975). Taxonomy of Education. David McKay Company Inc., New York. 117 p.
Bureau of Dental Health, Department of Health. (2018). Thailand's 8th National Oral Health Survey: 2017 Report on Result. Bangkok: Samchareon Phanich (Bangkok) CO., LTD.
Cohen, J. (1977). Statistical Power Analysis for Behavioral Sciences. New York: Academic Press.
Komponngam, N. (2015). The Effects of a Health Education Program on Tooth Decay Prevention for the Primary School Students Through the Application of a Self-Efficacy Theory and Social Support Theory. Journal of Rajanagarindra, 12(28), 179-185.
Kosaruk, S. (2017). The Effects of Dental Health Education Program for Preventing Periodontal Diseases among Health Volunteers, Erawan District, Loei Province. Thai Dental Nurse Journal, 28(2), 1-12.
Krabi Provincial Health Office. (2019). Report Dental Caries, 2019. Retrieved July 10, 2019 from http://203.157.232.109/hdc_report/frontend/web/index.php?r=dent%2Fdefault%2Fdent1kb.
Ministry of Public Health. (2019). 2018 Oral Status Repor. Nonthaburi.
Ministry of Public Health. (2019). Health Service Area 11: Report Dental Caries. Retrieved July 10, 2019 from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/ format1.php&cat_id=db30e434e30565c12fbac44958e338d5&id=ee3511e2fdc6bc7110db97960ce5cd23
Nakhonrnriab, S. & Wattanakikrileart, D. (2017). The Effectiveness of Mobile Application on Medication Adherence in Patients with Stroke. Journal of Nursing Science, 35(3), 58-69.
Nonpao, N., Namsri, P., Sodsi, A. & Pinwiset, W. (2018). Factors Related to Oral Hygiene Behaviors of Primary School Students in Sri Prachan District, Suphanburi Province. Thai Dental Nurse Journal, 29(1), 26-35.
Saekow, O. (2015). Web Application for Knowledge Management through Mobile Phones for Undergraduate Students. The thesis of Educational Technology and Communications of Rajamangala of University of Technology Thanyaburi.
Surathamjanya, R. (2016). The Result of Using Application for Teaching English Vocabulary on Tablet in English Subject for Prathomsuksa2 Students in Ratchaburi Educational Service Area 2. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 1030-1045.
Voraphitbenja, P., Klinhnu, C. & Srisom, N. (2015). The Development Learning Managements System Application of Virtual Classrooms on Mobile Device. Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal, 8(2), 58-67.
Wongsinudom, P. & Autthawuttikul, S. (2016). The Development of Tutorial Application on Tablet with Peer-to-Peer Learning Affecting Learning Together of the Third Grade Students in Petchaburi. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 588-601.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.