การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลต่อการเกิดการปวดหลังส่วนล่าง บ่าไหล่และคอ ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 39 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ชลลดา โต๊ะสิงห์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ชนิกานต์ จันทรเก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ชมพูนุช เทียนคำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ชลดา ปะนาโท วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ชลธิชา พงพันนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ชลธี วัฒนะพล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ชลสิทธิ์ สีบุญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ชลิดาภรณ์ สุริยะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • นงลักษณ์ คำสวาสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

บทคัดย่อ

การปวดหลังส่วนล่าง บ่าไหล่และคอ เป็นกลุ่มอาการของพฤติกรรม ท่าทาง หรืออิริยาบทในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดอาการตึงเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะ ชาปลายมือปลายเท้า เอ็นอักเสบ และรุนแรงไม่กลับปกติ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านร่างกาย ด้านการยศาสตร์ และด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง บ่า ไหล่และคอ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 39 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม จำนวน 139 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 22 ข้อ และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น (Average split-half correlation) 0.715 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านร่างกาย ที่ส่งผลต่อการเกิดการปวดหลังส่วนล่าง บ่าไหล่และคอ ได้แก่ การเล่นโทรศัพท์มือถือติดต่อกันเกิน 30 นาทีเป็นประจำ (𝑥̅ =0.99, S.D.=0.08) ร้อยละ 99.30 และการทำงานกับคอมพิวเตอร์เกิน 6 ชั่วโมงเป็นประจำ (𝑥̅ =0.68, S.D.=0.46) ร้อยละ 68.30 ปัจจัยด้านการยศาสตร์ ได้แก่ ก้มหรืองอตัวขณะนั่งทำงานเป็นประจำ (𝑥̅ = 0.91, SD = 0.29) ร้อยละ 74.80 และการเคยโน้มตัวไปข้างหน้า/ยืดแขน/บิดตัวเป็นเวลานานเกิน 6 ชั่วโมง (𝑥̅ = 0.39, SD = 0.48) ร้อยละ 61.20 และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้กระเป๋าสะพายที่มีน้ำหนักเกิน 10% ของน้ำหนักตัว (𝑥̅=0.49, S.D. = 0.50) ไม่เหมาะสมร้อยละ 48.90 การใช้โต๊ะ/เก้าอี้/พนักพิงในการนั่งเรียน/ทำงาน (𝑥̅ = 0.47, S.D. = 0.50) ไม่เหมาะสม ร้อยละ 46.80 พื้นที่ในการนั่งเรียน/ทำงาน (𝑥̅= 0.40, S.D. = 0.49) ไม่เหมาะสม ร้อยละ 40.30 และการใช้อุปกรณ์ หมอน ฟูกนอน เบาะรองนั่ง (𝑥̅ = 0.31, S.D. = 0.46) ที่มีความนุ่มไม่เหมาะสมร้อยละ 30.90 ตามลำดับ

จากการศึกษาครั้งนี้ ควรมีการขยายขอบเขตของประชากรไปยังกลุ่มของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตทุกชั้นปี เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการหาแนวทางให้รับรู้ถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการปวดหลังส่วนล่าง บ่าไหล่และคอ นำสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องต่อไป

References

ชุลีพร หีตอักษร, อรอนงค์ นำพา, สุดารัตน์ พร้อมวงศ์, เจตปรียา คลี่ขยาย, สุภาดา นิยม, อันธิกาทิมโพธิ์, อัญชิสา ทองสาร, และสันติ เพชรนุ้ย. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ระยะเวลาการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันอาการปวด เมื่อยกล้ามเนื้อของผู้ใช้สมาร์ทโฟน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 4(1), 1-14.

ธนพล ชอบเป็นไทย และณัทกิจพัฒน์ หอมวิจิตรกุล. (2563). ประสิทธิผลความพึงพอใจและพฤติกรรมการใช้ เซรั่มกะหล่ำปลี (OK Cooling Serum)บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อในกลุ่มโรคออฟฟิตซินโดรม. วารสารรัชต์ภาคย์. 14(35), 35-46.

ธิติมา ณรงค์ศักดิ์, นภาพิศ ฉิมนาคบุญ, และศิริศิลป์ ไชยเชษ. (2562). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลัง ส่วนล่างของบุคลากรสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 13(1), 21-24.

ธีรศักดิ์ พาจันทร์ และเพชรรัตน์ สัขสลุง. (2563). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลัง ส่วนล่างของบุคลากรสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 6(3), 196-205.

เบญจมาศ ถาดแสง, ดวงฤดี ลาศุขะและทศพร คำผลศิริ. (2555). ผลของโปรแกรมสนับสนับสนุนการจัดการ ตนเองพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร. 4, 124-136.

ปณชล เลี้ยงถนอม, กัญจนพร รอดบางยาง, อินทัช สพโชคชัย, ชวนภ ลลิตวจีวงศ์, อริยา ศรีภานุพงศ์, และ กิตติพงษ์ คงสมบูรณ. (2558). การยืนปฏิบัติงานและอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5. เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ มศว. 13-15.

ไพรัช พร้อมไกรนิตย์, วิโรจน์ จันทร, สรัญญา ถี่ป้อม, พัชร์สิริ ศรีเวียง, และยุวดี ทองมี. (2561). ความชุกและ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดไหล่ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา : กรณีศึกษาในโรงเรียนแห่งหนึ่งใน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 19(1), 133-142.

รัญชิดา ภิมาล, และวทันยา วงศ์มติกุล. (2560). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดหลังส่วนล่าง ใน พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 61(1), 87-93.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโร ยามาเน และเครจซี-มอร์แกน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 6(1), 35-41.

สมโรจน์ จิริวิภากร. (2565). การป้องกันและรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของกำลังพลกองทัพอากาศ แบบองค์รวม. แพทยสารทหารอากาศ. 68(1), 40-48.

สุกัญญา เอกสกุลกล้า, ฉัตรสุดา สุรพัฒน์, ภรัณยา ภัสสรวุฒิเลิศ, และศศินันท์ กาญจนกุล. (2561). ผลเปรียบเทียบการวางอิเล็กโทรดสองแบบจากการใช้ acupuncture-like TENS ต่อการลดปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง.วารสารกายภาพบำบัด. 40(3), 104-119.

สุนทรีย์ อนุสิทธิ์. (2561). การออกแบบเลขนศิลป์เคลื่อนไหวเพื่อให้ความรู้เรื่องออฟฟิศซินโดรมสำหรับบุคคล อายุ 25-30 ปี [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

โสภา ลี้ศิริวัฒนกุล, คณิสร เจริญกิจ, และวิภารัตน์ ภิบาลวงษ์. (2562). ผลของโปรแกรมการนวดแผนไทยต่อ กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของบุคลากร: ผลของโปรแกรมการนวดแผนไทยต่อกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของบุคลากร. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 29(2), 129-141.

หทัยรัตน์ ราชนาวี, ป้อ บุญรอด, และธันย์ธเสกข์ ธัชวงศ์สง่า. (2561). รายงานวิจัยสถาบันเรื่องผลของการ ประเมินนวดเทคนิคทางการกีฬาที่มีผลต่อการลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากโรคออฟพิศซินโดรมในกลุ่มบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. รายงานการวิจัยสถาบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อภิญญา ยุทธชาวิทย์, และเทพไทย โชติชัย. (2564). ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดคอ และหลังของนักศึกษาชั้นปี ที่ 3 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล. 32(2), 27-38.

อภิรมย์ อาทิตย์ ตั้ง, และจินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2562). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดย ใช้รูปแบบฟิตส์ที่มีต่ออาการปวด คอ ไหล่ และหลังของบุคลากรทางการศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47(2), 386-407.

อมรรัตน์ แสงใสแก้ว, จุรีรัตน์ กอเจริญยศ, บุญรอด ดอนประเพ็ง, และมารศรี ศิริสวัสดิ์. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในขณะปฏิบัติกิจวัตร ประจำวันต่ออาการปวดและภาวะจำกัดความสามารถในผู้ที่ปวดหลังส่วนล่างไม่ทราบสาเหตุ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 39(1), 93-104.

อรัญญา นัยเนตร์. (2563). ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดคอบ่าไหล่ในบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาล เจริญกรุงประชารักษ์. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 16(2), 61-74.

อูน ตะสิงห์, และชลวิภา สุลักขณานุรักษ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกไม่สบาย คอ ไหล่ หลัง และหัวเข่าของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 10(2), 85-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-13