การศึกษาความเครียดและการจัดการความเครียดในการเรียนออนไลน์ ช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
คำสำคัญ:
stress and stress management, online learning, the outbreak of COVID-19บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลที่มี การเรียนออนไลน์ช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลที่กำลังศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดในการเรียนออนไลน์ ช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 39.30 ส่วนใหญ่มีสาเหตุความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง( = 2.68, S.D.= 1.20) และมีสาเหตุความเครียดรายด้านระดับปานกลางทุกด้าน โดยมีสาเหตุด้านการเรียนออนไลน์มากที่สุด ( = 3.06, S.D.= 1.16) รองลงมาได้แก่ด้านจิตใจ ( = 2.81, S.D.= 1.19) สำหรับการจัดการความเครียด พบว่า การจัดการความเครียดโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง ( = 3.47, S.D.= 0.99) การจัดการรายด้านพบว่า การจัดการด้านสังคมและเศรษฐกิจมีการจัดการระดับมาก ( = 3.76, S.D.= 0.97) รองลงมา ได้แก่ ด้านร่างกายมีการจัดการระดับปานกลาง ( = 3.49, S.D.= 0.98)
References
กนกวรรณ ช่วยบำรุง. (2562). ความเครียดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนใต้: กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรเมืองนราธิวาส. (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ม.ป.ท.
กรมสุขภาพจิต. (2559). องค์ความรู้สุขภาพจิต สำหรับประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
กรมสุขภาพจิต. (2562). กรมสุขภาพจิต เผยวัยรุ่นไทยปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ปี 62 พบ “ปัญหาเครียด” มากสุด แนะเทคนิคจัดการความเครียด. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.prdmh.com/1472.html
กรมสุขภาพจิต. (2563). ผ่า 4 กลุ่มความเครียดที่กระทบสุขภาพ เครียดแบบเราจัดอยู่กลุ่มไหน?. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30321
กรมสุขภาพจิต. (2563). คู่มือการดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2563, จากhttps://www.dmh.go.th/covid19/pnews/files/21aug2563-1.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563, 17 มีนาคม). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องให้สถานศึกษาในสังกัดและ ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ.
กมลรัตน์ ทองสว่าง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียด ความฉลาดทางอารมณ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ชัยภูมิ. Journalof The Royal Thai Army Nurses, 18(2), 91-100.
กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). บทความปริทัศน์ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 19(2), 1-6.
ก้าวหน้า พงศ์พิพัฒน์. (2563). โควิด-19: เมื่อคนเลือกฆ่าตัวตายเพราะไร้ทางออกเรื่องปากท้องในภาวะปิดเมือง. สืบค้น 28 สิงหาคม 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-52562321
นันทิมา นาคาพงศ์. (2559). การสร้างและพัฒนาแบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบหลักสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). ม.ป.ท.
ปราณี มีหาญพงษ์ และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2561). กํารตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทาง การพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 9-15.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. (2563, 9 เมษายน). ประกาศวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี เรื่อง ขยายเวลาการปิดสถานศึกษาเป็นการชั่วคราวและกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 1.
สุรชัย โชคกรรชิตไชย. (2563). การระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในประเทศไทย. วารสารสมาคม เวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(1).
หงษ์ศิริ ภิยโยดิลกชัย, อรุณวรรณ กัมภูสิริพงษ์, มยุรี สวัสดิ์เมือง และทัศนี จันทรภาส. (2558). ความเครียด และการแก้ปัญหาความเครียดของนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
อดิศักดิ์ มหาวรรณ. (2556). AR หรือ Augmented Reality คือ?. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2563, จาก http://edu-techno-google.blogspot.com/2013/05/ar-augmented-reality.html
อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, เทพไทย โชติชัย, สมฤทัย ผดุงผล,กิรณา แต้อารักษ์ และชลการ ทรงศรี. (2563). ความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักศึกษาสาธารณสุข. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 7(2), 193-203.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.