ความรู้และการปฏิบัติตัวในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนโนนสูง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พัชนิดา ก้านแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ศิราภรณ์ แก้วยิ้ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • กุลณัฐ คำนวน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • แก้วกัลยา โสภาคำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ธนพร รัตนภิญโญวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • มณีรัตน์ แตงโยธา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • รวิสรา ศรีบุรินทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • สุนิสา ถิ่นระนอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ชลการ ทรงศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

ความรู้, พฤติกรรมการป้องกันตัว, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาไวรัส 19

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ การปฏิบัติตัว และวิธีการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัสของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนโนนสูง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 198 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัสโดยมีค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ระหว่าง .67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีแบบคูเดอร์-ริชาร์ดสัน เท่ากับ .70  แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรค โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.71 และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพบว่

กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัสอยู่ในระดับสูงโดยด้านความรู้เกี่ยวกับการระบาดของเชื้อ คิดเป็นร้อยละ 90.0 ด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนา 2019  โดยรวมมีระดับการปฏิบัติตัวมากที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีไข้และไอจาม การปฏิบัติตัวน้อยที่สุดคือกการกรอกข้อมูลในแอปพลิเคชั่นไทยชนะ เมื่อเดินทางไปสถานที่ต่างๆ การป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุข มีหน้าที่เฝ้าระวัง คัดกรอง ติดตามบุคคลที่มาจากต่างจังหวัดและเดินทางมาในชุมชน แนะนำประชาชนให้ปฏิบัติตัวตามขั้นตอนการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 19 และการปฏิบัติตัวตามหลัก DHMTTA

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการดูแลรักษา. คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ส่วนบุคคลป้องกันการติดเชื้อ (PERSONAL PROTECTIVE EQUIPMENT, PPE) ฉบับวันที่ 20 เมษายน 2563(เพิ่มเติม). สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2564 จาก https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=68.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563, 14(2), 92-103.

จิตรา มูลทิ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการ, 27(2), 5-14.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

ณัฐวัฒน์ สิริพวุฒ. (2564). การรับรู้ถึงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีผลต่อบทบาทการนำ เนินงานการควบคุมโรคของอาสาสมัครประจำหมู่บ้านในอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 10(1).

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยสารคาม, 2(1), 64-70.

พฤหัสกัญยา บุญลบ, นวพรรธน์ ดีประเสริฐวรกร, อนุรักษ์ มีอิ่ม, เจริญ ทุนชัย และพระครูโอภาสกาจนธรรม. (2563). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(2), 197-205.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-13