ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ ควบคุมโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • วันสิริภรณ์ ศาลาคาม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • จิดาภา ธนะปัด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • ธนรัตน์ ทะลอย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • นภาพร โชติฐิติธรรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • ปรารถนา อุตมะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • พิมประภา ประกาศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • ภัทรีภรณ์ อูปแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • ศุภกิจ โนวังหาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • กรรณิการ์ กาศสมบูรณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การปฏิบัติหน้าที่ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, อสม.

บทคัดย่อ

การวิจัยหาความสัมพันธ์นี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรค และการปฏิบัติหน้าที่การควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดแพร่ จำนวน 589 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือเป็นแบบสอบถามประเมินตนเองเกี่ยวกับการรับรู้ และการปฏิบัติงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เก็บข้อมูลโดยการใช้ Google Form ระหว่างวันที่ 7-18 มกราคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน

กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 84 อายุเฉลี่ย 51.18 (SD=9.61) การรับรู้ความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.65, SD=0.45) การปฏิบัติงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับมาก (M=2.85, SD=0.22) การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในด้านการคัดกรองอาการสำคัญ ด้านการติดตาม เฝ้าระวัง และด้านการรายงานผลงาน (r=.215, .239, .253, p<0.01) และมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานในภาพรวม (r=.293, p<0.01) มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำในบทบาทการจำแนกกลุ่มเป้าหมาย (r=.125, p<0.01)

ดังนั้น ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้และทักษะปฏิบัติให้กับ อสม. ด้านการรายงานผลและการคัดกรองเพื่อสร้างความเข้าใจการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ อสม. ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) 

References

Bloom, L., & Seiznick, P. (1968). The Perceived Role and the Actual Role of Management Basic Educational institutions. (4th ed., pp. 2-10). Harper and Row.

Chinnabut, W. & PhakdiSorawit, N. (2021). The Role of Village Health Volunteers (VHVs) in Prevent the Spread of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) According to the Government Policy of Mueang District. Suphan Buri, Suphan Buri Province. Social Science Journal and Buddhist Anthropology, 6(2), 305-318. (in Thai).

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2021). Corona Virus Disease (COVID-19): Situation. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/eng/situation.php

Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (2020). Health Knowledge Library, Ministry of Public Health 2019.

Department of Public Health, Ministry of Public Health. (2020). Thailand, COVID-19(EOC-DDCThailand) Infectious Diseases Corona Virus 2019.

Maiman, L. A., & Becker, M. H. (1974). The Health Belief Model: Origins and Correlates in Psychological Theory. Health Education Monographs, 2(4), 336-353.

Nawsuwan, K., Singweratham, N. & Damsangsawas, N. (2020). Relationship Between Perceptions, Severity of Disease on the Role of the Coronavirus Disease 2019 Control Operation in the Community of Public Health Volunteers Village. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 14(2), 92-103. (in Thai)

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2018). Measures for Personnel Under the Office of the Permanent Secretary Public Health. (in Thai).

Singveerathum, N., Thaopan, W. W., Nawsuwan, K., Pohboon, C., & Surirak, S. (2020). Perception and prevention behavior of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) of dentistry under the Ministry of Public Health. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 14(2), 104-115. (in Thai).

Srisupap, W., & Saensri, T. (2021). The Management for Surveillance, Prevention and Control of COVID-19 a Case Study of a State Quarantine in Samut Prakan Province. Disease Control Journal, 7(2), 1162-1165. (in Thai).

Weerakhachon, P., Kwanpichit, C., Nawsuwam, K., & Singweratham, N. (2020). Perception and Preventive Behaviors on the Coronavirus Disease-2019 (COVID-19) among Personal in Medical Operations at Southern Border Provinces Medical Center. Thai Journal of Public Health and Health Sciences; TJPHS, 3(3), 109-116. (in Thai).

Yeunyow, T., & Boomserm, P. (2020). The Relationship between knowledge and attitude toward on prevention behavior of Coronavirus Infection 2019 (COVID-19) among female village health volunteer, Surin Province. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospital, 35(3), 557-560. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-13