ผลของการใช้เม็ดฟู่กำจัดลูกน้ำและป้องกันการวางไข่ของยุงลายต่อความพึงพอใจของนักศึกษา และบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ชุติกาญจน์ ปานทอง นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • โชติมา แสงทอง นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ญดา วันทาวงศ์ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ญาณิศา อินบำรุง นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ญาณิศา โพธิ์แก้ว นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ญาณิศา พินโท นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ฐิตาภรณ์ รัตพูล นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ฐิติมา ภุมรินทร์ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ณภัทร เขตสมุทร นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ณัฏฐกมล ดาวฉาย นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กรรณิการ์ พรงาม วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กฤษณี สุวรรณรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรัญญา ชลธารกัมปนาท วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

เม็ดฟู่, ลูกน้ำยุงลาย, โรคไข้เลือดออก, ความพึงพอใจ, ปูนแดง

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมและศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมเม็ดฟู่กำจัดลูกน้ำและป้องกันการวางไข่ของยุงลายของนักศึกษาและบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 20 ราย โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมเม็ดฟู่กำจัดลูกน้ำและป้องกันการวางไข่ของยุงลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จำนวน  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1. นวัตกรรมเม็ดฟู่กำจัดลูกน้ำและป้องกันการวางไข่ของยุงลายของนักศึกษาและบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี สามารถกำจัดลูกน้ำได้ทั้งหมด แต่ไม่สามารถกำจัดตัวโม่งได้ และไม่พบการวางไข่ของยุงลายเพิ่มขึ้น ซึ่งในน้ำยังคงมีกลิ่นของสมุนไพรยาวนานถึง 6 วัน เม็ดฟู่ละลายภายใน 1 นาที และใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย

2. ความพึงพอใจในนวัตกรรมเม็ดฟู่กำจัดลูกน้ำและป้องกันการวางไข่ของยุงลาย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.75, SD= 0.49) พบว่าความพึงพอใจด้านความสะดวกสบายในการ ใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับแรก (M = 4.85, SD= 0.36) รองลงมาได้แก่ ด้านความสะดวกสบายในการพกพา (M = 4.75, SD= 0.44) และกลิ่นที่คนส่วนใหญ่พึงพอใจมากที่สุด คือ กลิ่นสาระเเหน่

ดังนั้นควรพัฒนาระยะเวลาการคงอยู่ของกลิ่นสมุนไพรในการใช้งานให้ยาวนานยิ่งขึ้นและควรมีการศึกษาถึงปริมาณของส่วนผสมต่างๆที่เหมาะสมในเม็ดฟู่ ปริมาณน้ำความเป็นกรดด่างของน้ำ เพื่อจะสามารถนำไปใช้ได้ทุกสภาพน้ำ

References

กรมควบคุมโรค. (2565, 10 สิงหาคม). ไข้เด็งกี่ (Dengue). สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2567 จาก https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44

งานให้คำปรึกษา ปกครองและสวัสดิการ. (2566). ข้อมูลสถิติการเจ็บป่วยของนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565. วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

ชะฎายุทธ์ ปัทเมฆ. (2557). พยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเขตภาคตะวันออกของประเทศไทยปี 2556-2560. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(5), 804-812.

บัวรัตน์ ศรีนิล. (2560). เอกสารประกอบการเรียน การออกแบบวิจัยธุรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูล การออกแบบ สอบถามและการเลือกตัวอย่าง [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พีรนุช ตรงต่อกิจ และภัทราพร เตียงกูล. (2561). การสกัดน้ำมันตะไคร้ไล่ยุงและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ [ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2567 จาก https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/4803/1/PeeranuchTrongtorkit.pdf

มานิตย์ ลอมศรีสกุล. (2558). ผลของรูปแบบการใช้ปูนแดงตากแห้งในการควบคุมลูกนํ้ายุงลายในภาชนะนํ้าใช้ โอ่งมังกรในบ้าน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 16(1), 3-12

รัชนีกร คัชมา, จงรัก ประทุมทอง, ยุทธพงษ์ ภักมี, ทิพยรัตน์ ข่วนกระโทก, และ สมรภพ บรรหารักษ์. (2563). ผลของการใช้ปูนแดงในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิชาการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 26(1), 5-13.

รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ. (2567). การสร้างนวัตกรรมสุขภาพ (Concept and Development of Nursing Innovation) [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะพยาบาลศาสตร์, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี.

วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ วิจัยด้วยเทคนิค IOC, CVR and CVI. วารสารรังสิตสารสนเทศ, 28(1), 169-192.

สุรพงษ์ คงสัตย์, ธีรชาติ ธรรมวงค์. (2558). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบบสอบถาม (IOC). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดจันทบุรี. (2566). สถานการณ์ไข้เลือดออกของจังหวัดจันทบุรี (ข้อมูลวันที่ 1 ม.ค-24 พ.ค 2566). สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดจันทบุรี

ศศิมา สุขสว่าง. (2562). Design Thinking โมเดลเครื่องมือพัฒนานวัตกรรม ตอนที่ 2. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.sasimasuk.com/16886657/design-thinking The Stanford d.school Bootcamp Bootleg. (2009). Design thinking bootcamp bootleg. Retrieved July 25, 2024 from https://dschool.stanford.edu/resources/the-bootcamp-bootleg.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-12