ผลการประยุกต์ใช้แนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ สำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลการประยุกต์ใช้แนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ประเมินจากการปฏิบัติและความพึงพอใจของพยาบาล และปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จำนวน 16 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวนอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จำนวน 118 คน แบ่งเป็นระยะก่อนการทดลอง จำนวน 59 คน ระยะทดลอง จำนวน 59 คน ดำเนินการวิจัยในระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ 2566 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาล แบบเฝ้าระวังปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการแนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ Chi-square test และ Fisher exact test ผลการศึกษาพบว่า
หลังการประยุกต์ใช้แนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว พยาบาลปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) 2) ความพึงพอใจความพึงพอใจต่อแนวทางที่ประยุกต์ขึ้นอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 91.46 คิดเป็นร้อยละ 42.71 และ 57.29 ตามลำดับ 3) หลังการประยุกต์ใช้แนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว พบว่าจำนวนวันการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงจาก 261 เป็น 136 วัน และอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงจาก 15.33 เป็น 7.35 ครั้งต่อ 1000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ
ดังนั้น ผลการวิจัยนี้แสดง ให้เห็นว่าแนวทางที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบได้
References
ชมรมหัวใจล้มเหลวแห่งประเทศไทย สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ.2562 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สมุทรปราการ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนคสเตป ดีไซน์.
สถาบันบำราศนราดูร. (2563). แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 1.,หน้า 39-41). สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
ศิรินาฏ สอนสมนึก, กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์ และสุปรีดา มั่นคง. (2560). ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจต่ออุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23 (3), 284-297.
อะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2565). การป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัทนันทพันธ์พริ้นติ้ง จำกัด.
Chen, X., Jiang, J., Wang, R., Fu, H., Lu, J., & Yang, M. (2022). Chest physiotherapy for pneumonia in adults. Cochrane Database of Systematic Reviews, (9).
Conrad, N., Judge, A., Tran, J., Mohseni, H., Hedgecott, D., Crespillo, A. P., et al. (2018). Temporal trends and patterns in heart failure incidence: a population-based study of 4 million individuals. The Lancet, 391(10120), 572-580.
Gulla, P. (2020). Percussion. https://www.physio-pedia.com/Percussion
Kollef, M. H., Hamilton, C. W. & Ernst, F. R. (2015). Economic impact of ventilatior-associated pneumonia in a large matched cohort. Infection Control & Hospital Epidemiology. http://www.cambridge.org/core/journals/infection-control-and-hospital-epidemiology/article/abs
Mastrogianni, M., Katsoulas, T., Galanis, P., Korompeli, A., & Myrianthefs, P. (2023). The impact of care bundles on ventilator-associated pneumonia (VAP) prevention in adult ICUs: a systematic review. Antibiotics, 12(2), 227.
McDonagh, T. A., Metra, M., Adamo, M., Gardner, R. S., Baumbach, A., Böhm, M., et al. (2021). 2021 ESC guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure. European Heart Journal, 42(36), 3599-3726.
Nakamura, A., Sato, K., & Endo, H. (2022). Transradial peripheral vascular intervention using Fowler’s position and Terumo R2P system for patients with heart failure: two case reports. Journal of Medical Case Reports, 16(1), 40.
Roger, V. L. (2021). Epidemiology of heart failure: a contemporary perspective. Circulation research, 128(10), 1421-1434.
Savarese, G., & Lund, L. H. (2017). Global public health burden of heart failure. Cardiac Failure, 3(1), 7-11. Retrieved September 7, 2023, form https://doi.org/10.15420/cfr.2016:25:2
Triamvisit, S., Wongprasert, W., Puttima, C., Chiangmai, M. N., Thienjindakul, N., Rodkul, L., & Jetjumnong, C. (2021). Effect of modified care bundle for prevention of ventilator-associated pneumonia in critically-ill neurosurgical patients. Acute and Critical Care, 36(4), 294.
Wu, D., Wu, C., Zhang, S., & Zhong, Y. (2019). Risk factors of ventilator-associated pneumonia in critically III patients. Frontiers in pharmacology, 10, 482.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.