การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ชั้นลึกในผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหัก กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก ในผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพก ใช้กรอบแนวคิดในการพัฒนาแนวปฏิบัติ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidenced - Based Practice Model) ในการพยาบาลโดย Soukup (2000) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ จำนวน 33 คน และผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหัก จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึกในผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหัก แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ 1 : การประเมินและคัดกรองความเสี่ยงการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก ของออทาร (Autar DVT Risk Assessment Scale) (Autar, 2003) แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ 2 : การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปสำหรับพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติ แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการพยาบาล การประเมินความเป็นไปได้ของการพัฒนาแนวปฏิบัติ การประเมินผลลัพธ์ เกี่ยวกับความสามารถของพยาบาลในการปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับผู้ป่วยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปสำหรับผู้สูงอายุ และ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ ใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Pair t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า
พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ได้คะแนนเฉลี่ยภาพรวม 4.10 คะแนน ในระดับมาก ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลระหว่างก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึกในผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหัก มีคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) มีผลต่างเท่ากับ 5.30 ความเป็นไปได้ในการนําแนวปฏิบัติไปใช้ปฏิบัติในหน่วยงาน คะแนนความเป็นไปได้เฉลี่ยในภาพรวม 4.32 คะแนน มีความเป็นไปได้ในการนำระดับสูง ไม่พบการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึกในผู้สูงอายุ ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติได้คะแนนเฉลี่ยในภาพรวม 4.78 คะแนน ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
ดังนั้นแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ปฏิบัติเป็นมาตรฐานในหน่วยงาน ในการป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก ในผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหักอย่างมีประสิทธิภาพ
References
ช่อทิพย์ คชเสนี, ยุภา สุนทรกิจ, รัชดาภรณ์ ใจห้าว, ธเนศร์ ศรีภม, ไสว นรสาร, พงศศิษฏ์ สิงหทัศน. (2563). ผลของการจัดโปรแกรมให้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินและป้องกันลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมอุบัติเหตุ. วารสารกองการพยาบาล, 47(2), 32-43.
พรทิพย์ สารีโส, และเกศรินทร์ อุทริยะประสิทธ์. (2550). การประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอุดกั้นในผู้ป่วยอายุรกรรม-ศัลยกรรม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(2), 27-36.
พัชรินทร์ สุตันตปฤดา, และมัชฌิมา กิติศร. (2558). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำสำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์, 6(2), 29-37.
ไสว นรสาร, ช่อทิพย์ คชเสนี, ยุภา สุนทรกิจ, รัชดาภรณ์ ใจห้าว, ธเนศร์ ศรีภมิ, พงศศิษฏ์ สิงหทัศน์. (2563). ประเมินปัจจัยเสี่ยงและอุบัติการณ์การเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึกโดยใช้คะแนนคาปรินี่ในผู้ป่วยที่รักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารกองการพยาบาล, 47(2), 21-31.
Autar, R. (2003). The management of deep vein thrombosis: the Autar DVT risk assessment scale revisited. Journal of Orthopedic Nursing, 7(3), 114-124.
Kanis, J. A., Oden, A., McCloskey, E. V., Johansson, H., Wahl, D. A., Cooper, C., et al. (2012). A systematic review of hip fracture incidence and probability of fracture worldwide. Osteoporosis International, 23, 2239-2256.
Krejcie, R. V. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational Psychol Meas. Polit, D.F., Beck, C.T. and Owen, S.V. (2007) Is the CVI an Acceptable Indicator of Content Validity? Appraisal and Recommendations. Research in Nursing & Health, 30, 459-467. doi.org/10.1002/nur.20199
Soukup, S. M. (2000). The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nursing Clinics of North America, 35(2), 301-309.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.