ผลของการเผายาต่อคะแนนความปวดในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 1,3 หลัง
คำสำคัญ:
โรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 1,3 หลัง, การเผายา, คะแนนความปวดบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเผายาต่อคะแนนความปวดในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 1,3 หลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 1,3 หลัง ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไม้ฝาด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 28 คน ใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่การเผายาและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบประเมินระดับอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยใช้มาตรวัดความเจ็บปวด (Visual Analog Scale : VAS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และ สถิติ Repeated measure ผลการวิจัยพบว่า
หลังการเผายา 3 ครั้งในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไม้ฝาด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ระดับความปวดมีแนวโน้มลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.001
ดังนั้นโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพในเครือข่ายควรนำศาสตร์การเผายามาใช้กับผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 1,3 หลัง เพื่อลดปริมาณการใช้ยาแผนปัจจุบันและเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพภาพขึ้น
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). ข้อมูลการป่วยของผู้ป่วยนอก. กระทรวงสาธารณสุข.
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช. (2549). แบบประเมินความเจ็บปวด. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธีรยุทธ เกษมาลี และคณะ. (2561). ประสิทธิผลการเผายาสมุนไพรเปรียบเทียบกับการทำกายภาพบำบัดในการรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิ. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 62(6), 975-985
ปุณยนุช อมรดลใจ. (2559). การใช้ขิงรักษาและบำบัดอาการโรคข้อเสื่อม. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 3(2), 13-22
พโนมล ชมโฉม. (2556). ผลของการสักยาต่อระดับความปวดกล้ามเนื้อของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังตอนล่าง. วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข, 1(1), 1-14
พรนิภา สิทธิสระดู่ และคณะ. (2565). การศึกษาการใช้ไพลในตำรับยาไทยสำหรับรักษาโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 463-475
ศุภชัย ชุ่มชื่น. (2563). การรักษาอาการท้องผูกเรื้องรังด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย. บูรพาเวชสาร, 7(2), 77-92
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ: ข้อมูลบนหลักฐานทางวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). แสงเทียนการพิมพ์.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.