กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาและทารกที่เป็นโรคเบาหวานในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • เกศกัญญา ไชยวงศา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, คลอดติดไหล่

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกในครรภ์ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตจากการขาดหรือลดการหลั่งของอินซูลินจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนซึ่งอินซูลินมีหน้าที่ในการนำกลูโคสผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เข้าสู่เซลล์ของอวัยวะเพื่อนำไปเป็นพลังงานของร่างกาย ซึ่งการเป็นโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์สามารถพบได้ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และเป็นในขณะตั้งครรภ์ ผลกระทบที่มีต่อสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ อาจเกิดภาวะความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เกิดภาวะคีโตซีสได้มากกว่าหญิงตั้งครรภ์ปกติ เกิดครรภ์แฝดน้ำและในระยะคลอด อาจจะทำให้เกิดภาวะการคลอดยากหรือการคลอดติดไหล่ เนื่องจากทารกตัวโต เกิดการช่วยคลอดสูติศาสตร์หัตถการ การผ่าตัดเพิ่มขึ้น ในระยะหลังคลอดทารกอาจจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แคลเซียมต่ำ บิลิรูบินสูง และอาจส่งผลกระทบรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตหลังคลอดได้ การควบคุมระดับน้ำตาลของมารดาให้ใกล้เคียงปกติให้มากที่สุดโดยเฉพาะในระยะใกล้คลอดและระยะคลอด จะช่วยการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้

References

กนกกัญจน์ ภาคภูมิ. (2564). การพยาบาลผู้คลอดที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ร่วมกับมีภาวะคลอดไหล่ยาก: กรณี ศึกษา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 6(3), 43-50.

กาญจนา ศรีสวัสดิ์ และอรพินท์ สีขาว. (2557). การดูแลหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์: Management for Gestational Diabetes Mellitus. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 50-59.

กาญจนา ศรีสวัสดิ์ และอรพินท์ สีขาว. (2557). การดูแลหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์: Management for Gestational Diabetes Mellitus. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 50-59.

นงคราญ ไชยรบ และเกศกัญญา ไชยวงศา. (2563). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายต่อระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงที่เป็นเบาหวานในระยะตั้งครรภ์. วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 330-337.

นันทพร แสนศิริพันธ์ และฉวี เบาทรวง. (2561). การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, อภิธาน พวงศรีเจริญ และอรวรรณ พินิจเลิศสกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test ผิดปกติ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(2), 58-69

ปิยะพร ศิษย์กุลอนันต์. (2563). การคัดกรองและการดูแลสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในสุกัญญา ปริสัญญกุล (บรรณาธิการ). บทความวิชาการการศึกษาต่อเนื่อง สาขาพยาบาลศาสตร์เล่มที่ 19 การผดุงครรภ์ (หน้า 59. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์.

วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี, มะลิวัลย์ บุตรดำ, ทัศณีย์ หนูนารถ, และเบญจวรรณ ละหุการ. (2562). ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์: บทบาทพยาบาลกับการดูแล. ราชาวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 9(2), 100-113.

สุชยา ลือวรรณ. (2558). โรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์. ภาควิชาสูติศาสตร์และนารีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/pregnancy-with-diabetes-mellitus/

Cunningham, F. G., Leveno, K. J. Bloom, S. L. Spong, C. Y., Dashe, J. S., Hoffman, B. M., et al. (2014). Williams Obstetrics. (24th ed.) New York: McGrow-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27