ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กรุณา ชรินทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • จณิศตา วรรณปะเข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ฉมาพันธ์ ร่องจิก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • พรรณราย พัฒใหม่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • รัตมนี บุตรศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ศุภลักษณ์ พลซา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • สาวิตรี นาโสก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • อมรรัตน์ ประเสริฐสังข์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกัน, เชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการ ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 60 คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 59 คน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 46 คน และชั้นปีที่ 4 จำนวน 75 คน รวมทั้งสิ้น 240 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินแบบสอบถามเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M=93.76, SD=10.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 5 ด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ยกเว้นด้านทักษะการโต้ตอบซักถามแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=31.86, S.D.=4.82) และพฤติกรรมการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามรายข้อ พบว่าสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้านมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (M=4.87, SD=0.40) และปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในครอบครัวโดยเว้นระยะห่างจากคนในบ้านอย่างน้อย 1-2 เมตร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (M=3.83, SD=1.25) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมากกับพฤติกรรมการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.52, p<0.01) ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางการสร้างเสริมความรอบรู้สุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับนักศึกษาพยาบาลได้

References

กรกนก ลัธธนันท์ และจันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 35(1), 290-302.

กรมควบคุมโรค. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564 จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 7-14 ปี และกลุ่มประชาชนที่มีอายุ15 ปีขึ้นไป (ฉบับปรับปรุง 2561). กระทรวงสาธารณสุข

ชญานิศ ลือวานิช, เอมอร นาคหลง, ประไพพิมพ์ สุรเชษฐคมสัน, พรทิพย์ งานสกุล, ศุภิกา วงศ์อุทัย, อารยา ข้อค้า และอุไรวรรณ ไกรนรา มูรานิชิ. (2564). ความรู้ การรับรู้ และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ภูเก็ต. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 7(1), 60-74.

ชินตา เตชะวิจิตรจารุ, อัจฉรา ศรีสุภรกรกุล และสุทัตตา ช้างเทศ. (2018). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19(1), 320-332.

บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาและวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 15(37), 179-195.

ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง, วนิดา ทองโคตร และ สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. (2560). การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2564 จาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images /Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf

รจนารถ ชูใจ, ชลธิชา บุญศิริ และ กมลพร แพทย์ชีพ. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(1), 250-262.

รังสรรค์ โฉมยา และ กรรณิกา พันธ์ศรี. (2563). ความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดต่อโรคไวรัสโคโรนาสาย พันธุ์ใหม่ (โควิด-19): การเปรียบเทียบระหว่างวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 71-82.

วิชัย เทียนถาวร และ ณรงค์ ใจเที่ยง. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตรสุขภาพ, 4(2), 126-137.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. (2564). รายงานสถานการณ์ Covid-19 จังหวัดอุดรธานี ประจำวันที่ 22 กรกฎาคม 2564. https://udo.moph.go.th/wasabi3/Home.php.

Dong, E., Du, H., & Gardner, L. (2020). An Interactive Web-Based Dashboard to Track COVID-19 in Real Time. The Lancet Infectious diseases, 20(5), 533–534.

Maiman, L. A., & Becker, M. H. (1974). The Health Belief Model: Origins and Correlates in Psychological Theory. Health Education Monographs, 2(4), 336–353.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-13