การนวดเเละการประคบเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • คฑาวุธ เกษาพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • จันทร์สุดา เลพล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • จุฑามาศ เกตแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • จุฬารัตน์ ห้าวหาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • เจษฎาภรณ์ พงษ์เพชร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ฉวีวรรณ เจียมรัมย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ตะวันฉาย ลินลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ปัณณธร สุวรรณฑา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • วิรตี เชื่อมั่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

การไหลของน้ำนมมารดา, นวดเต้านม, ประคบเต้านม, มารดาหลังคลอด, การทบทวนอย่างเป็นระบบ

บทคัดย่อ

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการนวดเต้านมและวิธีการประคบเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด ดำเนินการสืบค้นโดยกำหนดคำในการสืบค้นตามหลักเกณฑ์ของ PICO ซึ่งประกอบไปด้วย   P (Participant) คือ มารดาหลังคลอด, หญิงหลังคลอด, แม่หลังคลอด, postpartum mother, postpartum women, I (Intervention) คือ นวดเต้านม, ประคบเต้านม, breast massage, breast compression, C (Comparison) คือ ยาสมุนไพรกระตุ้นน้ำนม, อาหารพื้นบ้านกระตุ้นการไหลน้ำนม, นวัตกรรมกระตุ้นการไหลน้ำนม, การฝังเข็ม, O (Outcome) คือ น้ำนมไหล, ปริมาณน้ำนม, น้ำนมไหลดี, น้ำนมไหลเพิ่ม, breastmilk volume, breast milk produce, breast milk flow สืบค้นในฐานข้อมูล CINAHL Complete,  Google Scholar และ ThaiJo วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย จากการสืบค้นในฐานข้อมูลตามคำที่กำหนดได้ 258 เรื่อง พบว่ามีบทความวิจัยที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 13 เรื่อง เป็นการศึกษาในมารดาที่คลอดเองทางช่องคลอด โดยการนวดเต้านมมีวิธีการที่หลากหลาย แต่ทุกวิธีต้องนวดที่หัวนม ลานนม เต้านม และบริเวณใต้รักแร้ ส่วนการประคบมีวิธีการที่หลากหลาย ใช้ความร้อนที่ 38-40 องศาเซลเซียส และประคบนาน 15-20 นาที ส่วนการนวดร่วมกับการประคบ ส่วนใหญ่จะเป็นการนวดเต้านมก่อนแล้วจึงประคบเต้านม ซึ่งทุกวิธีพบว่าสามารถเพิ่มปริมาณการไหลของน้ำนมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลการศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการนำไปประยุกต์ใช้กับมารดาหลังคลอด เพื่อช่วยส่งเสริมการไหลของน้ำนมมารดาและเพิ่มอัตราความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวต่อไป

References

กนกพร เอื้ออารีย์กุล, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. (2561). ผลโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าและการรับรู้ ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. วารสารพยาบาล, 24(1), 13-26.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต. หจก.เอ.วี.โปรแกรมชีฟ

ขนิษฐา ผลงาม และ รัชนาถ มั่นคง. (2563). ผลการนวดประคบเต้านมด้วยเจลความร้อนผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมต่อปริมาณน้ำนมและระยะเวลาที่มารดามีน้ำนมเพียงพอสําหรับทารกในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่ผ่าตัดคลอด. วารศาสตร์พยาบาลศาสตร์, 36(3), 73-81.

ชุดาณัฏฐ์ ขุนเพชร, โสเพ็ญ ชูนวล และ ศศิธร พุมดวง. (2565). Effects of Southern Thai Traditional Massage with Warm Compression on Lactation and Breast Engorgement: A Randomized Controlled Trial. Review of Literature, 26(3), 390-403.

ธิดารัตน์ กันทาแจ่ม เเละคณะ. (2564). ผลของการนวดไทยเพื่อกระตุ้นน้ำนมในมารดาหลังคลอดที่น้ำนมไม่ไหลโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 19(1), 79-83.

นันทนา วัชรเผ่า, พนิตนาฎ โชคดี, โสภิดา ชูขวัญ, เเละคณะ. (2564). ประสิทธิผลของการนวดเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของนํ้านมในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. วารสารสังคมศาสตร์และ มานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(8), 100-111.

นิตยา พันธ์งาม. (2561). ผลของการประคบเต้านมด้วยลูกประคบเจลโพลิเมอร์แบบอุ่นชื้นต่อระยะเวลาการหลั่งน้ำนมครั้งแรกในมารดาหลังคลอดครรภ์แรก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 24(1), 30-36.

เบญจวรรณ ละหุการ, มลิวัลย์ รัตยา, ทัศณีย์ หนูนารถ, นุสรา มาลาศรี. (2564). ผลของโปรแกรมการนวดเต้านมด้วยตนเองต่อการไหลของน้ำนมในมารดาผ่าตัดคลอด. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(8), 102-110.

มารียา มะแซ, ศศิกานต์ กาละ, วรางคณา ชัชเวช. (2562). ผลของโปรแกรมการนวดเต้านมด้วยตนเองต่อการไหลของน้ำนมในมารดาครรภ์แรก Effect of Self-Breast Massage Program on Milk Ejection of First-Time Mothers. วารสารมหาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 11(3), 3-11.

วาทินี วิภูภิญโญ. (2563). ปัจจัยล้มเหลวที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในโรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(5), 635-642.

วิริยา โพธิ์ขวาง, ชนก จามพัฒน์, เบญจวรรณ งามวงศ์วิวัฒน์, นงนุช วงศ์สว่าง และ สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์. (2562). การเตรียมรายงานวิจัยต้นฉบับและการประเมินคุณภาพงานวิจัยทางการพยาบาลและสาธารณสุข. The Journal of Boromarajonani college of Nursing, Nakhonratchasima, 25(2), 194-212.

วิโรจน์ ฉิ่งเล็ก, วารุณี เกตุอินทร์ และ อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์. (2563). การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของ มารดาวัยรุ่น:บทบาทพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล Promotion of Breastfeeding among Teenage Mothers: Nurses’ Roles in Tambon Health Promoting Hospital. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย, 26(2), 91-103.

ศศิธารา น่วมภาศศิธารา นวลภา และ สุดาภรณ์ พยัคฆรางค์. (2564). Effectiveness of Different Massage Techniques for Breastfeeding Mothers to Increase Milk Production: A Systematic Review. Pacific Rim Int J Nurse Res, 25(1), 114-130.

สุภลักษณ์ เนตรทิยวัลย์. (2564). ผลของการนวดน้ำมันและประคบสมุนไพรในมารดาหลังคลอดที่มีภาวะเต้านมคัด ณ หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา The effect of oil massage and herbal compress in the mother after the birth of breast-feeding Hospital clinics in Sena Hospital, Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. PTu Journal of Science and Technology, 2(2), 56-70.

อนรรฆอร จิตต์เจริญธรรม, เพ็ญศิริ จันทร์แอ, ธีระ ผิวเงิน, ขนิษฐา ทุมา, จรินยา ขุนทะวาด, ภานิชา พงษ์นราทร, จุฑาทิพย์ ศิริศิลป์. (2565). ผลของการใช้โปรแกรมกระตุ้นการเพิ่มน้ำนมวิถีไทยต่อปริมาณเเละระยะเวลาการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด. วารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก, 22(2), 269-279.

อมรินทร์ ชะเนติยัง. (2561). ผลการนวดและประคบเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 4(1), 43-47.

อานิตย์ อ๋องสกุล. (2564). ผลของการใช้นวัตกรรม Donut Heat Gel ต่อระยะเวลาการหลั่งน้ำนมครั้งแรกในมารดาหลังคลอดหอผู้ป่วยหลังคลอดโรงพยาบาลพัทลุง The Effectiveness Donut Hot Gel Compress on First-Time Lactation after Birth in Postpartum Women. วารสารวิชาการ, 1(1), 1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21