ผลของการให้คำแนะนำการออกกำลังกายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อสัดส่วนร่างกายในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลมหาสารคามที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

Main Article Content

ณัฐธิดา บังเมฆ
ศุภนิธิ ขำพรหมราช
พัชรี วงษาสน
ณัฐชัย พรมโม้
ชยกร พาลสิงห์

บทคัดย่อ


     การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คำแนะนำการออกกำลังกายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อสัดส่วนร่างกายในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลมหาสารคามที่มีภาวะน้ำหนักเกิน  กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรเพศหญิง โรงพยาบาลมหาสารคาม ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 38 คน จากการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงและแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 19 คนโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก กลุ่มทดลองได้รับคำแนะนำการออกกำลังกายผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ 4 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง ขณะที่กลุ่มควบคุมใช้ชีวิตตามปกติ ทำการวัดสัดส่วนร่างกายโดยการชั่งน้ำหนักตัว ทำการวัดรอบเอว การวัดรอบสะโพก การหาสัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก และดัชนีมวลกาย ก่อนและหลังการให้คำแนะนำการออกกำลังกายผ่านสื่อสังคมออนไลน์  นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน independent sample t-test และ pair-t-test.



     ผลการวิจัยพบว่าหลังได้รับคำแนะนำการออกกำลังกายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของสัดส่วนร่างกาย ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าค่าเฉลี่ยของสัดส่วนร่างกายระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังได้รับคำแนะนำการออกกำลังกายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ไม่มีความแตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
บังเมฆ ณ., ขำพรหมราช ศ. ., วงษาสน พ. ., พรมโม้ ณ. ., & พาลสิงห์ ช. . (2022). ผลของการให้คำแนะนำการออกกำลังกายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อสัดส่วนร่างกายในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลมหาสารคามที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย, 1(1), 29–38. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/142
บท
บทความวิจัย