จริยธรรมการพิมพ์
1. บรรณาธิการ
หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ บรรณาธิการควรจะต้องรับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ในความรับผิดชอบ ดังนี้:
- ดำเนินการให้ตรงตามความประสงค์ของผู้อ่านและผู้วิจัย
- ปรับปรุงวารสารอย่างสม่ำเสมอ
- รับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
- สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
- คงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
- ปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
- เต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอด-ถอนบทความ และการขออภัย หากจำเป็น
หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้วิจัย
- ดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ เพื่อรับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ตีพิมพ์ และตระหนักว่าวารสาร และแต่ละส่วนของวารสาร มีวัตถุประสงค์และมาตรฐานที่ต่างกัน
- การตัดสินใจของบรรณาธิการต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ ควรขึ้นอยู่กับความสำคัญ ความใหม่ และความชัดเจนของบทความวิจัย ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสาร
- ควรมีการชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review) นอกจากนี้บรรณาธิการควรมีความพร้อมในการชี้แจงความเบี่ยงเบนต่างๆ จากกระบวนการตรวจสอบที่ได้ระบุไว้
- วารสารควรมีช่องทางให้ผู้วิจัยอุทธรณ์ได้หากผู้วิจัยมีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
- ควรจัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้วิจัยในทุกประเด็นที่บรรณาธิการคาดหวัง ในทุกเรื่องที่ผู้วิจัยควรรับทราบ และควรมีการปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมทั้งควรมีการอ้างอิงหรือการเชื่อมโยงกับระเบียบดังกล่าวนี้ด้วย
- ไม่ควรเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการตอบรับบทความที่ถูกปฏิเสธการติพิมพ์ไปแล้ว ยกเว้นมีปัญหาร้ายแรงเกิดขึ้นในระหว่างการส่งบทความมารับการพิจารณา
- บรรณาธิการใหม่ไม่กลับคำตัดสินใจมาตีพิมพ์บทความที่บรรณาธิการคนก่อนตอบปฏิเสธไปแล้ว ยกเว้นมีการพิสูจน์ถึงปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้น
หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้ประเมินบทความ
- ควรจัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้ประเมินบทความในทุกประเด็นที่บรรณาธิการคาดหวัง และควรมีการปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมทั้งควรมีการอ้างอิงหรือการเชื่อมโยงกับระเบียบดังกล่าวนี้ด้วย
- ควรมีระบบที่ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ ยกเว้นวารสารนั้นมีการประเมินบทความแบบเปิดที่ได้แจ้งให้ผู้วิจัยและผู้ประเมินรับทราบล่วงหน้าแล้ว
กระบวนการพิจารณาประเมินบทความ
- บรรณาธิการควรมีระบบที่ทำให้มั่นใจได้ว่าบทความที่ส่งเข้ามายังวารสาร จะได้รับการปกปิดเป็นความลับในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมิน
การร้องเรียน
- บรรณาธิการควรดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฎในผังการทำงานที่กำหนดโดยคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
- บรรณาธิการควรมีการตอบกลับคำร้องเรียนในทันที และควรแสดงให้ผู้ร้องเรียนมั่นใจได้ว่าสามารถร้องเรียนได้อีกหากยังไม่พอใจ ซึ่งกลไกดังกล่าวนี้ควรปรากฎชัดเจนในวารสาร และควรรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการส่งเรื่องที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขไปให้คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
สนับสนุนความถูกต้องทางวิชาการ
- บรรณาธิการควรทำให้เกิดความมั่นใจว่ารายละเอียดทุกส่วนในบทความวิจัยที่มีการตีพิมพ์ในวารสาร ต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมสากลที่ได้รับการยอมรับ
- บรรณาธิการควรหาหลักฐานเพื่อให้มั่นใจว่างานวิจัยทุกชิ้นที่จะตีพิมพ์นั้นได้รับการอนุมัติและเห็นชอบโดยคณะบุคคลที่มีอำนาจ (เช่น คณะกรรมการทางจริยธรรมด้านงานวิจัย คณะกรรมการพิจารณาบทความวิจัยของสถาบัน เป็นต้น) อย่างไรก็ตามบรรณาธิการควรระลึกไว้เสมอว่าการพิจารณาอนุมัตินั้นไม่ได้เป็นการรับประกันว่างานวิจัยนั้นถูกต้องตามหลักจริยธรรมเสมอไป
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ควรปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นความลับ (เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้และแพทย์ เป็นต้น) ดังนั้นบรรณาธิการจึงต้องมีหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคนไข้ หากชื่อ หรือ รูปของคนไข้ปรากฏในรายงานหรือบทความ อย่างไรก็ตามบรรณาธิการสามารถตีพิมพ์บทความได้โดยไม่ต้องมีเอกสารยินยอมหากบทความนั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพของคนทั่วไป (หรือมีความสำคัญในบางเรื่อง) หรือมีความยากลำบากในการได้มาซึ่งเอกสารยินยอม และบุคคลผู้นั้นไม่คัดค้านต่อการตีพิมพ์เผยแพร่ (จักต้องมีการปฏิบัติตามเงื่อนไขสามประการดังกล่าว)
การติดตามความประพฤติมิชอบ
- บรรณาธิการมีหน้าที่ติดตามความประพฤติมิชอบในกรณีเกิดข้อสงสัย ซึ่งรวมถึงบทความวิจัยทั้งได้รับการตีพิมพ์และยังไม่ได้รับการตีพิมพ์
- บรรณาธิการไม่ควรปฏิเสธบทความวิจัยที่อาจจะมีประเด็นมิชอบในทันทีทันใด บรรณาธิการมีหน้าที่ต้องติดตามบทความวิจัยที่ถูกกล่าวหาว่าประพฤติมิชอบเพื่อหาข้อเท็จจริง
- บรรณาธิการควรแสวงหาคำตอบจากบุคคลผู้ถูกกล่าวหาก่อน แต่หากยังไม่พอใจต่อคำตอบที่ได้รับให้สอบถามหัวหน้าหรือคณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นหน่วยงานที่ออกกฎระเบียบ) เพื่อตรวจสอบข้อเท็จริง
- บรรณาธิการควรดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในผังการทำงานของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์มีเมื่อความจำเป็นต้องใช้
- บรรณาธิการควรพยายามทำให้เกิดความมั่นใจว่าได้มีการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องด้วยหลักเหตุและผล แต่หากไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวบรรณาธิการควรขวนขวายหาทางแก้ไขปัญหาซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากแต่ก็เป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญ
การรับรองความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
- เมื่อมีการรับรู้ว่ามีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นกับบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ไปแล้ว รวมถึงมีประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือเป็นรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง บรรณาธิการต้องแก้ไขทันทีและด้วยความชัดเจน
- หากปรากฎการประพฤติทุจริตภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจนที่จะสามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้การเพิกถอนนี้ต้องให้ผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่นๆทราบด้วย
ผลประโยชน์ทับซ้อน
- มีระบบในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน(การขัดกันด้านผลประโยชน์)ของบรรณาธิการเองรวมทั้งของเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้วิจัย ผู้ประเมินบทความ และสมาชิกกองบรรณาธิการ
2.ผู้ประเมิน
การรักษาความลับ (Confidentiality): ผู้ประเมินบทความควรเคารพการรักษาความลับของขั้นตอนการประเมินอย่างเคร่งครัด ผู้ประเมินไม่ควรนำเนื้อหาในบทความหรืองานวิจัยไปเผยแพร่หรือปรึกษากับผู้วิจัยอื่น ผู้ประเมินไม่สามารถนำข้อมูลเนื้อหาในงานวิจัยหรือบทความไปอ้างอิงโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ประพันธ์ หากบทความหรืองานวิจัยนั้นยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ โดยการขออนุญาตนี้ต้องกระทำผ่านบรรณาธิการเท่านั้น ข้อมูลหรือแนวคิดต่างๆที่ได้จากการประเมินบทความต้องเก็บเป็นความลับ และไม่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน
ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflicts of interest): หากภายหลังได้รับมอบหมายบทความ ผู้ประเมินตระหนักได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยหรือบทความดังกล่าว รู้จักผู้ทำงานวิจัยหรือผู้ประพันธ์ หรือมีเหตุผลใดๆก็ตามที่อาจส่งผลให้ไม่สามารถประเมินบทความได้อย่างเที่ยงตรง ผู้ประเมินควรแจ้งต่อบรรณาธิการและปฏิเสธการรับประเมินบทความนั้นๆ ผลประโยชน์ทับซ้อนอาจรวมถึงการแข่งขัน การมีส่วนร่วม ผลประโยชน์ทางการเงิน การมีความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับผู้ประพันธ์ท่านใดก็ตามในบทความนั้น หรือ สถาบันที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นๆ
ความเที่ยงตรง (Objectivity): บทความหรืองานวิจัยนี้ควรได้รับการประเมินอย่างเที่ยงตรงและไม่มีความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจัยหลักในการประเมินคุณภาพโดยรวมของบทความหรืองานวิจัยได้แก่ ความสำคัญของบทความหรืองานวิจัยที่ส่งผลต่อองค์ความรู้สาขานั้นๆ คุณภาพของการประพันธ์และการชี้แจง อธิบาย หรือโต้แย้งด้วยเหตุผลและหลักฐานเชิงประจักษ์ ความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประเมินโดยไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนไม่ควรนำมาเป็นปัจจัยในการตัดสินหรือประเมินบทความหรืองานวิจัยนั้นๆ
การกล่าวอ้างอิง (Acknowledgement of sources): ผู้ประเมินควรระบุงานวิจัยอื่นๆที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับบทความหรืองานวิจัยนั้นๆ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์มาก่อนหน้านี้ แต่ผู้ประพันธ์ยังไม่ได้อ้างอิงถึง รวมถึงผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากพบว่าบทความหรืองานวิจัยที่ได้รับมอบหมายมีความคล้ายคลึงหรือทับซ้อนกับงานวิจัยหรือบทความอื่นๆที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว
3. นักวิจัย
นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในงานวิจัยต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัยและมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย
นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยนักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอ และมีความรู้ความชำนาญหรือมีประสบการณ์เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพและเพื่อป้องกันปัญหาการวิเคราะห์ การตีความหรือการสรุปที่ผิดพลาด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่องานวิจัย
นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตนักวิจัยต้องดาเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกและมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัยนักวิจัยต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยขาดความเคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัย แก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่หลอกลวงหรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัยนักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่า อคติส่วนตน หรือความลำเอียงทางวิชาการ อาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูลและข้อค้นพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหายต่องานวิจัย
นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่นนักวิจัยพึงมีใจกว้างพร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการวิจัยยอมรับฟังความคิดเห็นและเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่นและพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขงานวิจัยของตนให้ถูกต้อง
นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับนักวิจัยควรมีจิตสำนึกที่จะอุทิศกำลังสติปัญญาในการทำวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อความเจริญและประโยชน์สุขของสังคมและมวลมนุษยชาติ