ผลของการนวดด้วยปืนไฟฟ้าที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจและระดับการรับรู้ การออกแรงของร่างกายในกลุ่มวัยรุ่นสุขภาพดี

Main Article Content

จักรเพชร พรมกัลป์
ธนโชติ ลมชาย
ธีรภัทร ก้อนทอง
กิตติพงษ์ เกิดสวัสดิ์
กรธิดา หมูเหลา
จีรนัล พลดร
ธนวรรณพร ศรีเมือง
จักรดาว โพธิแสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปืนนวดไฟฟ้าต่ออัตราการเต้นของหัวใจ และระดับการรับรู้การออกแรงของร่างกาย (RPE)
ในกลุ่มวัยรุ่น และเพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ปืนนวดไฟฟ้ากับสถานการณ์ที่ไม่ใช้ปืนนวด ในด้านของอัตราการเต้นของหัวใจและค่า RPE
กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาเพศชาย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 8 คน ทำการเลือกตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การวิจัยนี้ใช้แบบประเมินระดับการรับรู้การออกแรงของร่างกาย (RPE) เครื่องมอนิเตอร์อัตราการเต้นของหัวใจ และปืนนวดไฟฟ้า เทคนิคทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA)
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ทั้งสองกลุ่มมีค่าอัตราการเต้นของหัวใจ และค่า RPE เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ช่วงการออกกำลังกายระดับหนัก กลุ่มที่ได้รับการนวดด้วยปืนนวดไฟฟ้า ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม หลังจากการพักฟื้นร่างกายในสภาวะปกติ สรุปได้ว่า การนวดด้วยปืนนวดไฟฟ้า มีแนวโน้มที่จะลดค่าอัตราการเต้นของหัวใจได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธนวรรณพร ศรีเมือง, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

-

References

Borg, G. (1998). Borg’s perceived exertion and pain scales [Online]. Retrieved August 1, 2023, from: https://psycnet.apa.org/record/1998-07179-000

Castro-Sanchez, AM., Mataran-Penarrocha, GA., Granero-Molina, J., Aguilera-Manrique, G., Quesada-Rubio, JM., and Moreno-Lorenzo, C. (2011). Benefits of massage-myofascial release therapy on pain, anxiety, quality of sleep, depression, and quality of life in patients with fibromyalgia [Online]. Retrieved August 1, 2023, from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21234327/

Çetkin, M., Bahsi, I., and Orhan, M. (2019). The Massage Approach of Avicenna in the Canon of Medicine. Acta Medico-Historica Adriatica, 17(1), 103-114.

Fakkham, S. & Janchawiboon, P. (2010). The efficacy of royal court massage in treating upper back muscle pain in service recipients at the Applied Thai Traditional Medicine Vocational Center, Suan Sunandha Rajabhat University (Research report). Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)

Field, T., Hernandez-Reif, M., Diego, M., Schanberg, S., and Kuhn, C. (2005). Cortisol decreases and serotonin and dopamine increase following massage therapy. International Journal of Neuroscience, 115(10), 1397-1413.

Hunter, R., Wilcox, A., and Furqan. (2008). Effectiveness of Sport Massage for Recovery of Skeletal Muscle from Strenuous Exercise. Journal of Sport Medicine, 18(5), 446-460.

Keeler, R., Singh, A., and Dua, H. (2012). Masseurs: for your eyes only. British Journal of Ophthalmology, 96, 1283.

Naewboot, J., & Kanchanatawan, B. (2014). Effects of Thai traditional massage to anxiety, depression and pain level of patients with myofascial pain syndrome at the Clinic of Applied Thai Traditional Medicine, Faculty of Medicine, Thammasart University. Chula Med J, 60(3), 313-27.

Netchanok, S., Wendy, M., Marie, C., and Siobhan, OD., (2012). The effectiveness of Swedish massage and traditional Thai massage in treating chronic low back pain: a review of the literature. Complementary Therapies in Clinical Practice, 18(4), 227-234.

Phungphai, C. (2007). The Effect of Applied Thai Traditional Massage on Relaxation. Master thesis (Sports Science). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University. (in Thai)ผ

Rajchanawee, H., Boonrod, P., and Thachwongsa-nga, T. (2018). Effectiveness of Massage Techniques on Reducing Muscle Pains Caused by Office Syndrome in Suranaree University of Technology Personnel (Research report). Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology. (in Thai)

Tantipidok, Y. (2010). Basic Principles of Thai Massage. 4th Edition. Bangkok: Usakarn Printing. (in Thai)