ผลการเปรียบเทียบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของนักกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ที่ร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48

Main Article Content

กิตติพจน์ มาบัว
สมชาย เบ็ญชา
กิตติ์ คุณกิตติ
วีระศักดิ์ แก้วทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของนักกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ที่ร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 จำนวน 19 คน จาก 4 ชนิดกีฬา ได้แก่ กีฬากรรเชียงบก 8 คน กีฬาเปตอง 7 คน กีฬาเพาะกาย 1 คน และกีฬาวอลเล่ย์บอลชายหาด 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามความวิตกกังวลตามสถานการณ์ (Revised Competitive State Anxiety Inventory - 2: CSAI – 2R) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (Independent Samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า


1) นักกีฬาทั้งเพศชายและเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลตามสถานการณ์ ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง สูงกว่าด้านความวิตกกังวลทางกาย และความวิตกกังวลทางจิตใจ ทั้งในช่วงก่อนการแข่งขัน 3 วัน ก่อนการแข่งขัน 1 วัน และก่อนการแข่งขัน 1 ชั่วโมง โดยเพศชายมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิง


            2) ในช่วงก่อนการแข่งขัน 3 วัน ก่อนการแข่งขัน 1 วัน และก่อนการแข่งขัน 1 ชั่วโมง ไม่พบความแตกต่างในด้านความวิตกกังวลทางด้านร่างกาย และความวิตกกังวลทางด้านจิตใจระหว่างนักกีฬาชายและนักกีฬาหญิง ที่ระดับนัยสำคัญ .05


3) ในช่วงก่อนการแข่งขัน 3 วัน ก่อนการแข่งขัน 1 วัน และก่อนการแข่งขัน 1 ชั่วโมง พบความแตกต่างในด้านความเชื่อมั่นในตนเองระหว่างนักกีฬาชายและนักกีฬาหญิงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Abbott, A., Collins, D., Martindale, RJJ., and Sowerby, K. (2002). Talent identification and development: an academic review.

Bhasavanija, T., & Morris, T. (2013). Using imagery of warmth in competition on oxygen consumption and golf performance enhancement. Proceedings: China International Congress in Sport Psychology. Beijing: China.

Cerin, E., Szabo,A., Hunt., N., and Williams, C. (2000). Temporal patterning of competitive emotions: Acritical review. Journal of sports sciences, 18(8), 605-626.

Champawan, T. (2018). Situational Anxiety. Journal of Buddhist Psychology, 3(2018), 15. (in Thai)

Duangsri, M., Bhasavanija, T., and Yamngamlua, W. (2020). Self-Confidence and Anxiety on State of National Sepak Takraw players involving in the 18th Asian Games in Indonesia. Academic Journal of Thailand National Sports University, 12(.3), 227-241. (in Thai)

Kaewklay, D. Charoensupmanee, T. and Ratanarojanakool, P. (2011). Competitive State Anxiety of Basketball Players in the 37th Thailand University Games. Faculty of Physical Education Journal, 14(1), 59. (in Thai)

Lazarus, RS., & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal, and coping. New York: Springer publishing company.

Muangnapoh, P. (1991). Teaching materials for sports psychology. Bangkok: Faculty of Physical Education, Srinakarin Wirot University. (in Thai)

Neil, R., Mellalieu, SD., and Hanton, S. (2006). Psychological skills usage and the competitive anxiety response as a function of skill level in rugby union. Journal of sports science & medicine, 5(3), 415.

Sports Authority of Thailand. (1999). Exercise for Health. Bangkok: Seven Printing Group Company Limited. (in Thai)

Tieatiam, S. (2008). Study of specific levels of confidence regarding one's own body. Master of Sports Science Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)

Williams, AM. & Reilly, T. (2000). Talent identification and development in soccer. Journal of Sports Sciences, 18, 657-667.

Wisalaporn, S. (1995). Vision of educational administrators in the Compilation of Graduate Professional Experience in Educational Administration. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)