รูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุของชนเผ่าปกาเกอะญอ ตำบลแม่นาจาง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

อนุพงษ์ ทวีกิจสถาพร
สุดยอด ชมสะห้าย
ศิริพร สัตยานุรักษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายและสร้างรูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุของชนเผ่าปกาเกอะญอ ตำบลแม่นาจาง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้แก่ กลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม เป็นผู้สูงอายุชนเผ่าปกาเกอะญอที่มีอายุระหว่าง 60-65 ปี จำนวน 170 คน โดยใช้ตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของเคอร์ซี่และมอร์แกน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ ซึ่งเป็น  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายในตำบล จำนวน 11 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้         แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 60-62 ปี มีน้ำหนักตัว ระหว่าง 45-49 กิโลกรัม  มีสถานภาพสมรส ไม่ได้รับการศึกษา และประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 100.00 ด้านพฤติกรรมสุขภาพ มีการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และรับประทานอาหาร สุก ๆ ดิบ ๆ มีพฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับไม่เคยปฏิบัติ ส่วนรูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุมีการกำหนดลักษณะท่าทางในการออกกำลังกาย โดยเป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนโลหิต หัวใจ หลอดเลือด และเพื่อฝึกการทรงตัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kemphetch, T. (2008). Lifestyle and Environment of the Long-lived Elderly of Lisu Tribe. Master of Education Thesis. Chiang Mai: Chiang Mai University. (In Thai)

Krabuanrat, C., (2014). Science of sports teaching. Bangkok: Thammasat University. (In Thai)

Krejcie, RV. & Daryle, WM. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(1970), 607-610.

Mae Hong Son Provincial Public Health. (2019). The Performance summary report 2019. Mae Hong Son Province: Mae Hong Son Provincial Public Health. (In Thai)

Mae Na Chang Subdistrict Health Promoting Hospital. (2020). The Performance summary report 2020. Mae Hong Son Province: Mae Na Chang Subdistrict Health Promoting Hospital. (In Thai)

Makmai, P. (2022). Exercise behaviors of elderly people in Maetor subdistrict, Maueng district, Tak province. Academic Journal of Community Public Health, 8(1), 60-72. (In Thai)

Ministry of Public Health. (2018). Problems and needs of the elderly [Online]. Retrieved December 14, 2020, http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/health/ prepared/topic002.php. (In Thai)

Nicholson, C., Morrow, EM., Hicks, A., and Fitzpatrick, J. (2017). Supportive care for older people with frailty in hospital: An integrative review. International Journal of Nursing Studies, 66(January 2017), 60-71.

Piyaworakul, D. (2008). Community capacity in promoting exercise of the elderly in Wang Nuea Subdistrict, Lampang Province. Master of Nursing Science Thesis. Chiang Mai: Chiang Mai University. (In Thai)

Rungsawang, N, (2000). Manual development Creating a school curriculum for primary school teachers. Bangkok: Silpakorn University. (In Thai)

Sanguankittiphan, T. (2000). Appropriate Expression: Skills for building good interpersonal relationships and building self-confidence. 2nd printing. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Tantiphlachiva, KS & Tantiphlachiva, KC. (1985). Maintaining health in the elderly. Bangkok: Aroonkarnpim. (In Thai)