ผลการฝึกความสัมพันธ์ของระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อที่มีผลต่อความสามารถในการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในของนักเรียนหญิง : การศึกษานำร่อง

Main Article Content

สุนิสา ลาชุม
อภิญพร จำรูญ
สุภาวดี ภูผิวฟ้า
สุดารัตน์ ไก่ทอง
สายไหม กวกขุนทด
ธนวรรณพร ศรีเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษานำร่องครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกความสัมพันธ์ของระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อที่มีต่อความสามารถของการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในของนักเรียนหญิง  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบรบือ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม อายุ 18 ปี จำนวน 10 คน ซึ่งได้มากจากการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรมการฝึกความสัมพันธ์ของระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทำการฝึกเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ในวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ เวลา 16.00-17.00 น. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำเปรียบเทียบผลของการฝึกระหว่างก่อนและหลังการฝึก โดยใช้ค่าที (pair sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า หลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกความสัมพันธ์ของระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อทำให้ความสามารถของการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในของนักเรียนหญิง ดีกว่าก่อนการฝึก แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงการศึกษานำร่อง ควรขยายขนาดกลุ่มตัวอย่างและระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองให้นานมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธนวรรณพร ศรีเมือง, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

-

References

Amornwanitchak, A. (2020). Effects of combined training on the shooting ability of futsal athletes, Wat Sothon Wararam Worawihan School. Master of Education Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Bastia, & Atiq, A. (2020). The Effect of drill training with hanging ball media on the ability of smash kedeng sepak takraw. Journal Pendidikan Jasmani Khatulistiwa, 1(1), 1-8.

Bunchalo, R. (2015). Sepak takraw and takraw through the loop. Pathum Thani: Skybooks. (In Thai)

Kamutsri, T. (2017). Strengthening physical fitness. Bangkok: College of Science and sports technology, Mahidol University. (In Thai)

Kanchanasorn, W. (2016). Effects of cooperative learning on takraw skills. with the inside of the foot and satisfaction of students in the field of physical education Faculty of Education Khon Kaen University. Journal of Education Khon Kaen University, 39(4), 53-64. (In Thai)

Kongmeechon, C. (2017). Effects of nine square grid training on playing takraw with the inside of the foot of students at Nakhon Pathom Rajabhat University. Master of Education Thesis. Suphanburi: Suphanburi Campus. (In Thai)

Krawanrat, C. (2009). The 9-box grid and brain development. 2nd edition. Bangkok: Health and Motor Skills Development Center, Kasetsart University. (In Thai)

Krawanrat, C. (2018). Sports coaching science. 2nd edition. Bangkok: Sinthana Copy Center. (In Thai)

Ngammoo, C. (2014). Necessary needs for physical fitness of Sepak Takraw athletes. Master of Science Thesis. Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai)

Nonthakhot, K. (2020). Principles of exercise and sports training. Buriram: Faculty of Science Sports Science, Buriram Rajabhat University. (In Thai)

Ratchatranon, W. (2014). Social science research techniques. Bangkok: Kasetsart University. (In Thai)

Silamad, S. (2017). Principles of sports training for sports coaches. 5th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Sopin, P. (2021). Effects of neuromuscular coordination training and skill training on ability of inside kick skill in Takraw among grade six students. Master of Education Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Wannabuspawich, P. (2017). Sports training techniques. Nakhon Ratchasima: Faculty of Science and Technology, Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (In Thai)

Watchayakan, K. (2017). Skills and teaching of Sepak Takraw. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (In Thai)