ผลของการฝึกความคล่องตัวแบบสถานีที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลหญิง

Main Article Content

ฤทธิรงค์ อัญจะนะ
กนกวรรณ ผางจันทร์ดา
น้ำฝน เสนานันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกความคล่องตัวแบบสถานีที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลหญิง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลหญิง โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี ที่มีอายุระหว่าง 15-18 ปี จำนวน 22 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มทดลองทำการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกความคล่องตัวแบบสถานี และกลุ่มควบคุมทำการฝึกแบบปกติ ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบการเลี้ยงลูกฟุตซอล โดยใช้แบบทดสอบ Illinois agility test with ball ในการทดสอบทั้งก่อนการฝึก หลังการฝึก 3 สัปดาห์ และหลังการฝึก 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยการใช้ค่าสถิติ Independent sample t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Analysis of Variance With Repeated Measures) หากพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของ LSD ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการฝึก        3 สัปดาห์ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนหลังการฝึก 6 สัปดาห์ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 การเปรียบเทียบภายในกลุ่มของกลุ่มควบคุมก่อนการฝึก หลังการฝึก 3 สัปดาห์ และหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลุ่มทดลอง พบว่า ก่อนการฝึกกับหลังการฝึก 6 สัปดาห์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chu, DA. (1996). Explosive power & strength. Champaign, IL: Human Kinetics.

Getchell, B. (1979). Physical fitness: A way of life. 2nd edition. New York, NY: John Wiley and Sons, Inc.

Krejcie, RV., & Morgan, DW. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. Educational and Psychological Measurement (EPM), 30(3), 607-610.

Moore, R., Bullough, S., Goldsmith, S., and Edmondson, L. (2014). A Systematic Review of Futsal Literature. American Journal of Sports Science and Medicine, 2(3), 108-116.

Mungkunkamchaw, T. (2014). Effects of Using SAQ Technique on Football Dribbling Skills and Physical Fitness of Elementary School Student. An Online Journal of Education, 9(4), 256-267. (In Thai)

Nithitpongthawat, R. (2015). Effect of the agility training program on sport specific skill in futsal athletes of Varee Chiang Mai School. Master of Science Thesis. Chiang Mai: Chiang Mai University. (In Thai)

Sonchan, N. (2017). Effects of modified speed agility and quickness (SAQ) training program on base running speed of college softball players of Burapha University. Master of Science Thesis. Chonburi: Burapha University. (in Thai)

Sookhanaphibarn, T. (2022). Effect of 10-Minute Exercise Training Program on Health-Related Physical Fitness for Physical Fitness for Overweight Officers. The Journal of Faculty of Applied Arts, 15(1), 1-13. (In Thai)

Sriramatr, S. (2014). Physical Activity for Wellness. Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai)

Sunthornsenee, W. (2001). Physical Fitness Testing. Bangkok: Suan Dusit Rajabhat Institute. (In Thai)

Tokirie, D. (2018). The Effect of SAQ Training Program upon Agility and Futsal Dribbling Ability of Higher Education Futsal Player. Humanity and Social Science Journal, 24(2), 70-83. (In Thai)