ผลของการออกกำลังกายคลาส KFIT ที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกาย ในนักศึกษาหญิงที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

Main Article Content

เขษมศักดิ์ ยุระตา
ธนวรรณพร ศรีเมือง
ศุภนิธิ ขำพรหมราช

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกคลาส KFIT ที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกายในนักศึกษาหญิงที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยตัวเองตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาเพศหญิง เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 16 คน แบ่งออกเป็น กลุ่มทดลอง 8 คน ทำการออกกำลังกายคลาส KFIT 30 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ร่วมกับการออกกำลังกายด้วยตนเองตามปกติ กลุ่มควบคุม 8 คน ทำการออกกำลังกายด้วยตนเอง ทำการประเมินองค์ประกอบร่างกายก่อนการทดลองประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมัน กล้ามเนื้อลายมวลกล้ามเนื้อทั้งหมด น้ำหนักตัว ทำการเก็บข้อมูล 4 สัปดาห์ และประเมินองค์ประกอบร่างกายหลังทดลองสัปดาห์ที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม ด้วยสถิติทีเทส (t-test dependent) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ด้วยสถิติทีเทส (t-test independent) ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง พบว่า กล้ามเนื้อลาย และมวลกล้ามเนื้อทั้งหมด มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่เมื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบร่างกายระหว่างกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ สรุปได้ว่า การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง ไม่พบองค์ประกอบร่างกายที่แตกต่างทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่กลุ่มทดลองที่ออกกำลังกายคลาส KFIT พบว่า กล้ามเนื้อลาย และมวลกล้ามเนื้อทั้งหมด มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการออกกำลังกายคลาส KFIT จึงเป็นทางเลือกให้กับบุคคลที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและยังสามารถรักษามวลกล้ามเนื้อได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธนวรรณพร ศรีเมือง, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

-

References

Buchheit, et al. (2012). Repeated sprints with directional changes: do angles matter?. Journal of Sports Sciences, 30(6), 555-562. doi:10.1080/02640414.2012.658079

Fit me. (2024). What is HIIT exercise? How can it help you lose weight? [Online]. Retrieved January 20, 2024, from: https://www.fitmesport.com/hiit-workout/

HIIT Science. (2020). The High-intensity training formats [Online]. Retrieved January 20, 2024, from: https://www.facebook.com/hiitscience/photos/a.344359312774475/940260409851026/?type=3

Ratchatranon, W. (2014). Social science research techniques. Bangkok: Kasetsart University. (In Thai)

Saisawat, P. (2015). Effects of a progressive interval training program on body mass index. Body composition and maximum oxygen consumption of overweight/obese female college students. Master of Sports Science Thesis. Chonburi: Burapha University. (In Thai)

Udomvirojsin, C. (2021). Effect of High Intensity Interval Circuit Training Program on Overweight Students’ Body Composition. Master of Education Physical Education, Faculty of Education. Suphanburi: National Sports University Suphanburi Campus. (In Thai)