ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตบอลชาย โครงการห้องเรียนกีฬาโรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตบอลชาย โครงการห้องเรียนกีฬาโรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม และเพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตบอลชาย โครงการห้องเรียนกีฬาโรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลโรงเรียนสารคามพิทยาคม อายุ 15 ปี จำนวน 15 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้ที่มีความคล่องแคล่วว่องไวต่ำกว่ามาตรฐาน ฝึกด้วยโปรแกรมแบบสถานี ระยะเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ในวันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี เวลา 16:30-17:00 น. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการฝึกแบบสถานี และแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว Semo Agility Test สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (pair sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการทดสอบจับเวลาที่ดีที่สุด โดยใช้แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว Semo Agility Test ภายในกลุ่มตัวอย่างก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตบอลชาย โครงการห้องเรียนกีฬาโรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม ดีกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
Bettle, J. (2010). Balsom agility drill [Online]. Retrieved June 30, 2023, https://www.youtube.com/watch?v=WZKPcC-7mhU
Chantasorn, N. (2019). Agility development by plyometric training. Veridian E-Journal, Silpakorn University Humanities Social Sciences and arts, 12(5), 578-598. (In Thai)
Hattha, H. (2014). Effect of plyometric training on agility of futsal players. Master of science (Sports Science), Major Field: Sports Science, Faculty of Sports Science. Bangkok: Kasetsart University. (In Thai)
Kunaphisit, W. (2002). Sports science. Bangkok: Thai Wattana Panich. (In Thai)
Phetploynin, P. (2017). The effect of complex training upon agility and speed of male footballplayer. Master of Education Degree in Learning Management Health and Physical Education. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)
Ratchatranon, W. (2014). Social science research techniques. Bangkok: Kasetsart University. (In Thai)
Satianpoonsook, T., et al. (2021). The effects of a blended training program on agility of football players at Nakhonratchasima College. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 29(4), 90-98. (In Thai)
Sports Authority of Thailand. (2005). Physical fitness of football athletes. Bangkok: Sports Science Division, Sports Science Division Sports Authority of Thailand. (In Thai)
Supanyabutra, C., & Thammasaovapaak, S. (2012). The effect of sap model training on football dribbling ability. The Journal of Khonkaen University, 12(4), 102-110. (In Thai)