โปรแกรมนันทนาการที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้โปรแกรมนันทนาการที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้โปรแกรมนันทนาการที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ประชากรคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดท่ามะปราง) ปีการศึกษา 2566 จำนวน 3 ห้อง ซึ่งแบ่งเป็นตัวอย่างกลุ่มทดลอง จำนวน 36 คน และตัวอย่างกลุ่มควบคุม จำนวน 36 คน โดยทำการแบ่งกลุ่มแบบคละ ซึ่งใช้ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพเป็นเกณฑ์การแบ่ง ได้แก่ ดี ปานกลาง และอ่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมนันทนาการที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และ 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ในกลุ่มทดลอง พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัว ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) พบความแตกต่างของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพในด้านองค์ประกอบร่างกาย ความอ่อนตัว ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
Department of Physical Education. (2016). Good physical fitness because of nutrition Bangkok: Department of physical education. (In Thai)
Department of Physical Education. (2019). Recreation Leader. Bangkok: S. offset graphic design Press. (In Thai)
Institute for Population and Social Research Mahidol University. (2020). Policy brief for the implementation of schools physical activity in Thailand. Nakhon Pathom: Thailand Physical Activity Knowledge Development Center (TPAK). Institute for Population and Social Research Mahidol University. (In Thai)
Nakornkhet, K. (2018). Global recommendations on physical activity for health [Online]. Retrieved June 30, 2024, http://padatabase.net/uploads/files/01/doc/475_.pdf. (In Thai)
Parimanon, C. Chaimay, B. and Woradet, S. (2018b). Nutritional status and factors associated with nutritional status among children aged under 5 years: literature review. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(1), 329-342. (In Thai)
Parimanon, C., Sangthong, J., Chaimay, B., and Woradet, S. (2018a). Factors Associated with Overweight among Children Aged 5 Years in Phatthalung Province. Journal of Health Science of Thailand (JHS), 27(3), 384-392. (In Thai)
Phuaksuwan, K. (2016). Recreation leader. Bangkok: Chulalongkorn University press. (In Thai)
Sriprajan, S. & Nippanon, P. (2021). The Effects of a program by application the health literacy and social support to promote behaviors on breast banker prevention among women aged 30-55. Thailand journal of health promotion and environmental health, 45(1), 103-116. (In Thai)
Sriprajan, S. & Nippanon, P. (2022). The Effects of A Program by Application The Health literacy and Social Support to Promote Behaviors on Breast Cancer Prevention Among Women Aged 30-55 years in Muang District, KhonKaen Province. Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health, 45(1), 103-116. (In Thai)
Thai Health Promotion Foundation. (2017a). Thailand recommendations on physical activity, non-sedentary lifestyles and sleeping for school age and teen (6-17 years old). Nathon Patom: Mahidol University. (In Thai)
Thai Health Promotion Foundation. (2017b). Causes of chronic stress in children and adolescents [Online]. Retrieved June 30, 2024, https://wetheparents.org/child-stress (In Thai)
Thailand National Sports University. (2017). Sports Authority of Thailand strategic plan 2023-2027. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports. (In Thai)
Thalithong, O. (2018). Health related physical fitness of lower secondary school students Songkhla province. Academic Journal Institute of Physical Education, 10(3), 271 - 284. (In Thai)
Wattsmaprang Municipal 3 School. (2023). Student statistics 2023. Phitsanulok: Academic Affairs Division. (In Thai)