ผลของการฝึกการยืดเหยียดแบบพีเอ็นเอฟที่มีต่อพิสัยของข้อต่อในนักศึกษาชาย สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

ธนวัฒน์ อิ่มภักดิ์
ธีร์ธานิศ พันธ์นิกุล
พัชรี วงษาสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการยืดเหยียดแบบพีเอ็นเอฟที่มีต่อพิสัยของข้อต่อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพศชาย อายุระหว่าง 18 - 22 ปี จำนวน 10 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเดียวไม่มีกลุ่มควบคุม ทำการทดสอบความอ่อนตัวโดยวัดมุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า ก่อนและหลังการฝึกการยืดเหยียดแบบพีเอ็นเอฟ ทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การยืดด้วยเทคนิค Hold – Relax  2) การยืดด้วยเทคนิค Contract – Relax และ 3) การยืดด้วยเทคนิค Slow – Reversal – Hold – Relax ใช้ระยะเวลาทดลอง 4 สัปดาห์ (สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใช้เวลา 30 นาที ต่อสัปดาห์) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (Paired   t-test) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของมุมข้อสะโพก มุมข้อเข่า และมุมข้อเท้า ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า


     1) หลังการยืดเหยียดแบบพีเอ็นเอฟ พบว่า ค่าเฉลี่ยของมุมข้อต่อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า มีอัตราการเปลี่ยนแปลง 15.86% ,6.86% และ 10.33% ตามลำดับ 2) หลังการทดลองการยืดเหยียดแบบพีเอ็นเอฟ ค่าเฉลี่ยของมุมข้อต่อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การฝึกการยืดเหยียดแบบพีเอ็นเอฟ สามารถพัฒนาพิสัยของข้อต่อได้ดีและมีมุมการเคลื่อนไหวที่เพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย