ผลของรูปแบบกิจกรรมทางกายด้วยการฝึกกระโดดเชือกที่มีต่อระบบไหลเวียนโลหิต และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักศึกษาหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบกิจกรรมทางกายด้วยการฝึกกระโดดเชือกที่มีต่อระบบไหลเวียนโลหิต และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักศึกษาหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 23 คน ได้รับรูปแบบกิจกรรมทางกายด้วยการฝึกกระโดดเชือกเป็นระยะเวลา6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้การวิจัยประกอบด้วยรูปแบบกิจกรรมทางกายด้วยการฝึกกระโดดเชือกที่มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย แบบทดสอบยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที (3 Minutes Step Up and Down) และเครื่องชั่งน้ำหนักและวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันออมรอน(Omron model : HBF-214) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตทดสอบค่าที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลของรูปแบบกิจกรรมทางกายด้วยการฝึกกระโดดเชือกที่มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักศึกษาหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สามารถทำให้สมรรถภาพด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้นและเปอร์เซ็นต์ไขมันลดลง 2) ค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับรูปแบบการฝึกกระโดดเชือกที่มีต่อระบบไหลเวียนโลหิตและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ดีขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ไขมันหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับรูปแบบการฝึกกระโดดเชือกที่มีต่อระบบไหลเวียนโลหิตและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ลดลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น