การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักและมีโรคร่วม ที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงด้วยโลหะ

ผู้แต่ง

  • พิรุณ กมลผาด

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, กระดูกข้อสะโพกหัก, การผ่าตัดยึดตรึงกระดูก, การวางแผนการพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก

บทคัดย่อ

     กระดูกข้อสะโพกหักเป็นปัญหาสำคัญ  พบว่าผู้สูงอายุเมื่อมีการหกล้มเพียงเล็กน้อย หรือมีการพลัดตกจากความสูงเพียงเล็กน้อยสามารถทำให้ผู้สูงอายุมีกระดูกหักได้ และตำแหน่งที่มีกระดูกหักมักเป็นข้อสะโพกส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดไม่เคลื่อนไหวร่างกาย เกิดความเครียด นอนไม่หลับ มีอาการสับสน ติดเตียง เกิดภาวะแทรกซ้อน แผลกดทับ ปอดอักเสบ ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน การรักษาโดยการทำผ่าตัดยึดตรึงกระดูกข้อสะโพกที่รวดเร็วและการใช้กระบวนการพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย จะช่วยให้ผู้สูงอายุปลอดภัย ฟื้นตัวได้เร็ว และสามารถช่วยเหลือตัวเองมีสมรรถนะใกล้เคียงกับก่อนมีกระดูกข้อสะโพกหัก การป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ การสาธิต การฝึกทักษะอย่างต่อเนื่อง จะสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ การประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มและการป้องกันความเสี่ยงจะสามารถป้องกันการหกล้ม กระดูกหักซ้ำได้

     ผลการศึกษาพบว่า การนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหัก อย่างเป็นระบบและนำมาวางแผนการพยาบาลให้สอดคล้องกับแผนการรักษาของแพทย์ ปัญหาและความต้องการต้องการของผู้สูงอายุ  จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุปลอดภัยจากความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวด สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อน แผลกดทับ ปอดอักเสบ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การอุดตันของหลอดเลือดดำที่ขาได้  การประเมินซ้ำ การให้ข้อมูลซ้ำ การฝึกทักษะผู้ดูแลผู้สูงอายุ และการวางวางแผนการดูแลต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความรู้ มีทักษะ เมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลจะทำให้ผู้สูงอายุปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน มีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุก่อนกระดูกหัก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

กมลผาด พ. . (2023). การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักและมีโรคร่วม ที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงด้วยโลหะ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1), 176–184. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1267