ผลของโปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์ งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • กฤษยากร อินยา -

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, การจัดการการรับส่งเวร, โมเดล SBAR, งานผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการการรับส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ ประชากร คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในงานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบ้านโคก จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์ แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อโปรแกรม ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.82 และค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ 0.84 เก็บรวบรวมข้อมูลระยะเวลาในการรับและส่งเวรทางการพยาบาล โดยจับเวลาด้วยนาฬิกาตั้งแต่ส่งข้อมูลผู้ป่วยคนแรกจนถึงคนสุดท้ายของการส่งเวรของเวรดึกส่งต่อให้เวรเช้าและประเมินประสิทธิผลของการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon-signed rank test ที่ระดับนัยสำคัญ .05

     ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ด้านความถูกต้องอยู่ในระดับปานกลาง (M=1.20, S.D.= .33) และความครบถ้วนของการส่งเวรอยู่ในระดับสูง (M=1.45, S.D.= .33) หลังการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ประสิทธิผลด้านความถูกต้องอยู่ในระดับสูง (M=1.65, S.D.= .12) ความครบถ้วนของการส่งเวรอยู่ในระดับสูง (M =1.79, S.D.=0.10) ประสิทธิผลของการจัดการการส่งเวรก่อนและหลังการจัดการด้วยโมเดลเอสบาร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z = 3.061) ระยะเวลาการรับและส่งเวรทางการพยาบาลลดลงจาก 46.33 นาที เหลือเพียง 36.58 นาที ความพึงพอใจต่อโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น ควรนำโปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์ไปเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการรับและส่งเวรทางการพยาบาล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

อินยา ก. . (2023). ผลของโปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์ งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1), 119–129. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1269