โปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลการฉีดวัคซีน COVID – 19 โดย Platform กาฬสินธุ์พร้อม

ผู้แต่ง

  • บุรินทร์ จินดาพรรณ -

คำสำคัญ:

Platform กาฬสินธุ์พร้อม, COVID – 19, การฉีดวัคซีน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบบริหารจัดการ วัคซีน COVID – 19  และศึกษาโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลการฉีดวัคซีน COVID – 19  โดย Platform กาฬสินธุ์พร้อม เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในการพัฒนาระบบ Platform กาฬสินธุ์พร้อม ระหว่างเดือน มีนาคม 2564 ถึงเดือนกรกฎาคม 2564 รวม 5 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับผิดชอบศูนย์ข้อมูลการฉีดวัคซีน COVID – 19 ระดับอำเภอ จำนวน 18 แห่งๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลและแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test

     ผลการศึกษาพบว่า Platform กาฬสินธุ์พร้อม มีผู้แจ้งความประสงค์ฉีดวัคซีน ที่มีต้องการรับและยินยอมฉีดวัคซีน คิดเป็นร้อยละ 100 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้จองคิวฉีดวัคซีน ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. - 14 ต.ค. 2564 จำนวน 2,882 คน โดยทั้งหมดมีความต้องการฉีดวัคซีน AstraZeneca คิดเป็นร้อยละ 77.31 (2,228 คน) ต้องการฉีดวัคซีน Sinovac คิดเป็นร้อยละ 8.85 (255 คน) และมีความประสงค์จองคิวเพื่อฉีดวัคซีนอะไรก็ได้ จำนวน 399 คน คิดเป็นร้อยละ 13.84 ความเข้าใจในให้บริการของระบบ ของผู้รับผิดชอบในศูนย์ข้อมูลการฉีดวัคซีน COVID – 19 โดยรวม ก่อนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก หลังการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในให้บริการของระบบ ของผู้รับผิดชอบในศูนย์ข้อมูลการฉีดวัคซีน COVID – 19 ก่อนและหลังการดำเนินงาน  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p – value < .000) โดยที่หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

จินดาพรรณ บ. (2023). โปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลการฉีดวัคซีน COVID – 19 โดย Platform กาฬสินธุ์พร้อม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1), 30–38. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1284