ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ห่วงยางเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง อำเภอศรีสมเด็จ

ผู้แต่ง

  • ศิริพร เผ่าภูธร
  • สุภาวดี ศิริโอด

คำสำคัญ:

โปรแกรมการออกกำลังกาย, ห่วงยาง, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง

บทคัดย่อ

             การวิจัยกึ่งทดลองนี้ ศึกษาแบบกลุ่มเดียวประเมินผลก่อนและหลัง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง      กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่มีอาการทางคลินิกพ้นระยะวิกฤต  อาการคงที่ก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลที่มีคะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(ADL) เริ่มต้นที่5-11  จำนวน 22คนตามเกณฑ์คัดเข้า ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ห่วงยางที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์จากกรอบแนวคิดทฤษฎีความสามารถในการดูแลตนเองของโอเร็มร่วมกับการประยุกต์ใช้หลักFITTใช้เวลาฝึกครั้งละ30 นาทีอย่างน้อย3 ครั้งต่อสัปดาห์รายละ12 สัปดาห์ผู้ป่วยอาจทำเองได้โดยใช้แขนและขาข้างที่ดีมาช่วยหรือให้ญาติช่วยทำตามสภาพแต่ละรายตั้งแต่เดือนเมษายน2562 ถึงเดือนมีนาคม2563ซึ่งเป็นช่วงเริ่มและเฝ้าระวังสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19  โปรแกรมการออกกำลังกายประกอบด้วยการให้ความรู้ คำแนะนำการฝึกทักษะออกกำลังกายจำนวน 10 ท่าเพื่อนำไปปฏิบัติต่อเนื่องที่บ้านเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายโดยใช้ห่วงยาง  แบบประเมินกำลังกล้ามเนื้อ (Morter power) ข้างที่อ่อนแรง  แบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) และแบบประเมินความพึงพอใจเครื่องมือผ่านการตรวจสอบได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านเท่ากับ .83 นำไปทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีลักษณะคล้ายกันและไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10รายแล้วนำมาหาค่าความเชื่อมั่นโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคโดยรวมได้ .81, .93, .94 และ .83ตามลำดับ นำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติ paired Sample t-test ในการวิเคราะห์ความแตกต่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรม

               ผลการวิจัยพบว่าภายหลังที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางในระยะ12สัปดาห์แรกที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ห่วงยางเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีกำลังกล้ามเนื้อข้างที่อ่อนแรงเพิ่มมากขึ้นคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม(p< 0.05) และความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ห่วงยางเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางมีผลในการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อข้างที่อ่อนแรงมากขึ้นเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ

                  ประโยชน์ที่ได้ควรนำไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางกลุ่มติดบ้านในระยะ 12สัปดาห์แรก ประยุกต์ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันที่ไม่มีข้อห้ามเพื่อเพิ่มสมรรถภาพซึ่งสามารถฝึกได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องที่บ้านสะดวกประหยัด ปลอดภัย เหมาะสมกับวิถีชีวิต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30