การพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

ผู้แต่ง

  • วิภา ดวงสุวรรณกุล

คำสำคัญ:

ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, ภาวะน้ำเกิน, การล้างไตทางช่องท้อง, การติดเชื้อในช่องท้อง

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
     กรณีศึกษา: กรณีศึกษาผู้ป่วยชายไทย อายุ 73 ปี ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำ ตรวจพบโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายประมาณ 2 เดือน บำบัดด้วยวิธีล้างไตทางหน้าท้อง เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ด้วยอาการเท้าบวม 2 ข้าง รอบแผลสายล้างไตหน้าท้องบวม แดง 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล  ได้ใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย ในระยะก่อนตรวจ ขณะตรวจ และหลังการตรวจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาที่รวดเร็ว เหมาะสม โดยพยาบาลประเมิน คัดกรอง ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ป้องกันภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน แพทย์วินิจฉัย มีภาวะน้ำเกิน ติดเชื้อในช่องท้อง ร่วมกับภาวะโลหิตจาง หลังได้รับการตรวจรักษา แพทย์ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย ประสานการส่งต่อผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล ได้ติดตามผู้ป่วยในขณะที่นอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยปลอดภัยไม่มีภาวะแทรกซ้อน จำหน่ายกลับบ้านรวมอยู่โรงพยาบาล 4 วัน แพทย์นัดติดตามผลการรักษาที่ห้องผู้ป่วยนอก และได้รับการดูแลต่อเนื่องแบบประคับประคอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

ดวงสุวรรณกุล ว. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1), 166–175. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1292