รูปแบบการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ และพฤติกรรม การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุม โรควัณโรคในชุมชนของแกนนำชุมชน ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • มยุรี กุโรรัตน์

คำสำคัญ:

ความรู้ความเข้าใจ, การรับรู้, พฤติกรรม, การเฝ้าระวัง, ป้องกันควบคุม โรควัณโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ และพฤติกรรม การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุม โรควัณโรคในชุมชนของแกนนำชุมชน และศึกษารูปแบบการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ และพฤติกรรม การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุม โรควัณโรคในชุมชนของแกนนำชุมชน ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาการศึกษา ระหว่างเดือน พฤษภาคม 2565 ถึง เดือนกันยายน 2565 รวม 5 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แกนนำชุมชน ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 90 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Dependent t – test

           ผลการศึกษา พบว่า ความเข้าใจการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรควัณโรคในชุมชน ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด การรับรู้การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรควัณโรคในชุมชน ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อเปรียบเทียบความเข้าใจการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรควัณโรคในชุมชน ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ และการรับรู้การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรควัณโรคในชุมชน ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนและหลังดำเนินการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ หลังจัดกิจกรรม มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30