ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อยู่ในระยะพึ่งพิงขณะอยู่ในโรงพยาบาลบ้านผือจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พัชรี ฤทธิ์ศร

คำสำคัญ:

โปรแกรมการฝึกทักษะผู้ดูแล, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ( Quasi – Experimental  Research ) เพื่อศึกษาผลของโปรมแกรมการฝึกทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อยู่ในระยะพึ่งพิงขณะอยู่ในโรงพยาบาลบ้านผือ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ ที่มีญาติ/ผู้ดูแลประจำ จำนวน 62 คน ที่มารับการรักษาที่หอผู้ป่วยในหญิงและหอผู้ป่วยในชาย  โรงพยาบาลบ้านผือ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติพรรณนา  ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานในการเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Dependent t – test

     ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อยู่ในระยะพึ่งพิงขณะอยู่ในโรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พบว่า ผู้ดูแลมีความรู้ และทักษะการดูแลเพิ่มขึ้น กว่าก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการติดตามผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่จำหน่ายกลับบ้าน 1 เดือน พบว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ร้อยละ 93.5 มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 100 และไม่มีภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 93.5

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

ฤทธิ์ศร พ. (2023). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อยู่ในระยะพึ่งพิงขณะอยู่ในโรงพยาบาลบ้านผือจังหวัดอุดรธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1), 287–293. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1304