การพัฒนาการประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • สุรพงษ์ ลักษวุธ -

คำสำคัญ:

ระบบการแพทย์ทางไกล, การดูแลสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ศึกษาการประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบึงกาฬ มีระยะเวลาการศึกษา ระหว่างเดือนตุลาคม 2563 - เดือนกันยายน 2565 รวม 24 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกันกับการพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 177 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent t – test Independent t - test F – test ด้วยเทคนิค Two way ANOVA และ F – test ด้วยเทคนิค Two way MANOVA

     ผลการศึกษาพบว่า ผลการจัดบริการระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาล โดยรวมได้เกินกว่า ร้อยละ 100 ทั้งในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ความเข้าใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกันกับการพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ระดับ อำเภอ ตำบล และรวมทั้งหมด โดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังดำเนินการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินงานและ พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ก่อนและหลังดำเนินการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินงาน

References

World Health Organization (WHO).(2010) Global status report on non-communicable diseases. Geneva: WHO Publications.

World Health Organization (WHO).(2013) Global action plan for the prevention and control non-communicable diseases 2013-2020. Geneva: WHO Publications; 2013.

ราม รังสินธุ์และคณะ. (2557). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2555. สืบค้นจาก http://www.nhso.go.th/

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2557). การทบทวนวรรณกรรม : สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง บริษัท อาร์ต ควอลิไฟท์ จำกัด

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาลโดยใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล พ.ศ. 2564 เล่ม 138 ตอนพิเศษ 23 ง ราชกิจจานุเบกษา 1 กุมภาพันธ์ 2564

วิภาวัณย์ อรรณพพรชัย และชวภณ กิจหิรัญกุล.(2564).การประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2564) I Vol.7 No.3

ไพศาล มุณีสว่าง. (2561). รายงานโครงการพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบทโดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง.สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563, จาก http://nuradio.nu.ac.th/?p=4096.

สกลนันท์ หุ่นเจริญ, ณมน จีรังสุวรรณ, และปณิตา วรรณพิรุณ. (2557). การประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพ.วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 5(2), 191-198.

World Health Organization. (2009). Telemedicine: opportunities and developments in Member States : Report on the second global survey on eHealth. World Health Organization

Best, J. W. & Kahn, J. V.(1993). Research in Education. 7th ed. Boston : Allyn & Bacon.

บุญชม ศรีสะอาด.(2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วีระชณ ทวีศักดิ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการรับและส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยใช้เครือข่ายสุขภาพร่วมกับระบบการแพทย์ทางไกล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 9 ฉบับที่ 01 (2023): มกราคม – มีนาคม 148 -59

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล พิชญ์ พหลภาคย์ สว่างจิต สุรอมรกูล.(2564). ผลของการติดตามสุขภาพทางไกล ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. ปีที่ 65 ฉบับเพิ่มเติม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31