การพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลก่อนและหลังในหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกที่ีต้องได้รับการผ่าตัดแบบนัดผ่าตัด (Elective surgery)

ผู้แต่ง

  • อรุณี พัวโสพิศ -

คำสำคัญ:

รูปแบบการให้ข้อมูล, หญิงตั้งครรภ์นอกมดลูก, การผ่าตัดแบบนัดผ่าตัด

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกที่ได้รับการผ่าตัด คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 29 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบวัดความรู้ในการปฏิบัติตน แบบสอบความวิตกกังวล แบบถามความพึงพอใจ และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed-ranks Test

     ผลการศึกษา รูปแบบฯ ประกอบด้วย การให้ความรู้และแนวทางการปฏิบัติตัวในการรักษา ระยะก่อนผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับข้อมูลจากพยาบาลเป็นผู้ป่วยรายบุคคล การดูแลหลังผ่าตัดเป็นรายบุคคลหน่วยงานที่ผู้ป่วยนอนรักษา การเยี่ยมผู้ป่วยหลังผ่าตัด 1-2 วัน ติดตามภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด และดมยาสลบ ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยไม่มีอาการข้างเคียงของยาแก้ปวดในการผ่าตัด มีการให้ความรู้เรื่องอาการข้างเคียงของยาสลบ มีการประเมิน และกิจกรรมกลุ่มโดยทีมร่วมกันซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากพยาบาลประจำตึก และพยาบาลห้องผ่าตัด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้หลังจากได้รับข้อมูลในการเตรียมความพร้อมก่อนและหลังผ่าตัดกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ระดับดี ร้อยละ 100 ส่วนความวิตกกังวลพบว่า ส่วนความวิตกกังวลพบว่า คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลก่อน (Mean 7.34, S.D. 1.67) และหลังการทดลอง(Mean 5.03, S.D. 0.98) แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (Z = -1.482, p-value = 0.138)  และด้านความพึงพอใจต่อการบริการของหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกที่ต้องได้รับการผ่าตัดแบบนัดผ่าตัด (Elective surgery) ในภาพรวมค่าเฉลี่ยร้อยละ 85

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31