การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดโรคหลอดเลือดสมองแตกโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วรรณวิมล ทุมมี -

คำสำคัญ:

รูปแบบการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก, ภาวะความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาของผู้ป่วยผ่าตัดโรคหลอดเลือดสมองแตก พัฒนารูปแบบบริการ นำรูปแบบไปใช้จริง ศึกษาผลลัพธ์ และประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่ในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด และหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 60 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เก็บข้อมูลจาก แบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้รูปแบบการพยาบาล แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

     ผลการศึกษาพบว่าจากสถานการณ์ปัญหาที่พบ ทำให้เกิดรูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย แนวทางการจัดบริการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณี คู่มือการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย และนวัตกรรมการพยาบาล ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการพยาบาลฯ คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด      ระยะ 7-10 วันหลังผ่าตัด และหลังจำหน่าย  2 สัปดาห์มีจำนวนลดลง ความพึงพอใจของผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.93, SD = 0.26) ความพึงพอใจของพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.87, SD = 0.34)  ความสามารถในการทำกิจวัตรกิจประจำวันของผู้ป่วยค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.001 และประสิทธิภาพของรูปแบบการพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.82, SD = 0.39)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31