การพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลในผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกุมภวาปี

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ สุทวา โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, การให้คำปรึกษาแบบรายบุคคล, ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่, คลินิกหู คอ จมูก

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการณ์ (Action Research ) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลในผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ คลินิกหู คอ จมูก ระหว่างเดือนเมษายน 2566 ถึงเดือน กรกฎาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งหู คอ จมูกรายใหม่หลังรับทราบผลตรวจชิ้นเนื้อทุกคน เลือกแบบเจาะจง และพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลในผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ร่วมกับสื่อวีดีทัศน์และแผ่นพับ เรื่องการวินิจฉัยด้วยการตรวจ Fine Needle Aspiration (FNA) 2) แบบประเมินความวิตกกังวล (Thai HADS) 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้รูปแบบฯของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และPaired sample T-Test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
     ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลในผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ คลินิกหู คอ จมูก ประกอบด้วยวิดีโอ และแผ่นภาพอินโฟกราฟฟิกให้ความรู้ และการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เริ่มจากขั้นตอนการเตรียมความพร้อมขณะรอฟังผลการตรวจชิ้นเนื้อด้วยวิธีสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ภายหลังมารับฟังผลการตรวจการจะใช้เทคนิคการทาให้กระจ่าง ผู้ให้คำปรึกษาในช่วงเวลาการบำบัดโดยใช้เทคนิคในการค้นหาข้อมูล การวิเคราะห์ การสื่อสาร การแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจและการใช้ความสัมพันธ์ในการรักษา 2) หลังใช้รูปแบบฯ ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่มีความวิตกกังวลลดลงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และ 3) ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

References

De Sanctis V, Bossi P, Sanguineti G, Trippa F, Ferrari D, Bacigalupo A, et al. Mucositis in head and neck cancer patients treated with radiotherapy and systemic therapies: litera- ture review and consensus statements. Crit Rev Oncol Hematol. 2016;100:147–66.

National Cancer Institute, Department of Medicine, Ministry of Public Health [Inter- net]. Hospital Cancer Registration. 2017 [cited 2019 Aug 20]. Available from: http://www. nci.go.th/en/File_download/Nci% 20 Can- cer% 20Registry/HOSPITAL-BASED% 202016%20Revise% 204% 20Final.pdf (in Thai)

งานทะเบียนมะเร็ง โรงพยาบาลกุมภวาปี (2563). สถิติโรคมะเร็ง โรงพยาบาลกุมภวาปี

Rennenker, R., & Culter, M. (1952). Psychologicalproblems of adjustment of cancer of the breast. Journal of the American Medical Association, 148(10), 833-838

Argyle, M., & Martin, M. (1991). The psychological causes of happiness. In F. Strack, M. Argyle, & N. Schwarz (Eds.), Subjective well-being: An interdisciplinary perspective (pp. 77-100).

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2549). การให้คำปรึกษาทางสุขภาพ.กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

สุขอรุณ วงษ์ทิม. (2554). การให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม ในประมวลสาระชุดวิชาแนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 14. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิภาพร นาชิน. (2555). การเสริมสร้างความสุขของบุคลากรโรงพยาบาลโดยการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธวิธี (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

รัตนาภรณ์ อินทร์ยา. (2548). ผลของการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลตามหลักทฤษฎีการบำบัดแบบเผชิญความจริงกับตามหลักทฤษฎีเกสตัลท์ต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาให้คำปรึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30