ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและความพร้อมของญาติผู้ดูแล โรงพยาบาลเขาวง

ผู้แต่ง

  • วิชชุนี ละม้ายศรี -

คำสำคัญ:

โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย, การดูแลต่อเนื่อง, ผู้ป่วยระยะกลาง, ภาวะโรคหลอดเลือดสมอง, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, ความพร้อมของญาติผู้ดูแล

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลางที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และความพร้อมของญาติผู้ดูแล โรงพยาบาลเขาวง กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 30 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองอย่างละ 15 คู่ กลุ่มควบคุม ได้รับการวางแผนจำหน่ายตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลอง ได้รับวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลางฯ เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความพร้อมในการดูแล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและแบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์และการทดสอบที

     ผลการวิจัย ด้านญาติผู้ดูแล พบว่า ก่อนจำหน่ายญาติผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความพร้อมในการดูแลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และภายหลังจำหน่าย 1 เดือน พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความพร้อมในการดูแลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ด้านผู้ป่วย พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนการกลับมารักษาซ้ำ พบว่า กลุ่มควบคุมกลับมารักษาซ้ำ 2 รายในขณะที่กลุ่มทดลองไม่พบการกลับมารักษาซ้ำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31