การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเชิงรุกบูรณาการร่วมกับการให้บริการรูปแบบ คลินิกหมอครอบครัวและภาคีเครือข่ายในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ธัญญลักษณ์ ไชยสุข มอลเลอร์ -
  • กานดา ศรีโพธิ์ชัย
  • ณัฏฐพร ยี่วาศรี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท, การพัฒนารูปแบบการดูแล, คลินิกหมอครอบครัว, ภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเชิงรุกบูรณาการร่วมกับการให้บริการรูปแบบคลินิกหมอครอบครัวและภาคีเครือข่ายในชุมชน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น  96 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ได้แก่ แบบติดตามผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน แบบประเมินความสามารถโดยรวม แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon signed ranks test และ Pair samples t-test

     ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเชิงรุกบูรณาการร่วมกับการให้บริการรูปแบบคลินิกหมอครอบครัวและภาคีเครือข่ายในชุมชน มี 3 ระยะ ดังนี้ 1) วิเคราะห์ความต้องการของพื้นที่และกำหนดกรอบแนวคิด 2) ออกแบบจัดทำต้นร่างและพัฒนาปรับปรุง 3) การนำรูปแบบฯ ที่พัฒนาแล้วไปใช้และประเมินผลลัพธ์ พบว่าก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบฯ ค่าระดับคะแนนความรุนแรงของอาการเบื้องต้นโดยรวม ค่าระดับคะแนนความสามารถโดยรวม และค่าระดับคะแนนคุณภาพชีวิต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .01)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31