การพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ฐาปนัท สิงห์ไพบูลย์พร -
  • รักชนก ภู่ตระกูล

คำสำคัญ:

กระบวนการส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแล และส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินและพัฒนากระบวนการส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงพยาบาลประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แกนนำชุมชนในเขตโรงพยาบาลประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสา และภาคีเครือข่าย จำนวน 738 คน มีระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่ เดือน กันยายน 2563 ถึง เดือน พฤศจิกายน 2565 รวม 26 เดือน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน ได้แก่ F – test ด้วยเทคนิค Two way ANOVA , Dependent t – test , F – test ด้วยเทคนิค Repeated Measurement และ LSD

     ผลการศึกษา พบว่า ความรู้ความเข้าใจในการดูแล และส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและผลการดูแลผู้ที่มีอาการทางจิตจากการเสพสารเสพติด ที่เข้ารับการรักษาในรพ./ส่งต่อรพ. ปี 2565 (กันยายน 2565) รวมทุกตำบล พบว่าโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินและพฤติกรรมก้าวร้าวจากการเสพสารกระตุ้นประสาทและการช่วยเหลือเบื้องต้น อยู่ในระดับมาก ไม่มีความแตกต่างระหว่างตำบลและตำแหน่ง การเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจในการดูแล และส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ก่อน (2563) หลังกระบวนการ (2564) และหลังกระบวนการ (2565) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังกระบวนการ (2565) มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด และ ผลการส่งต่อผู้ที่มีอาการทางจิตจากการเสพสารเสพติด  ที่เข้ารับการรักษาในรพ./ส่งต่อรพ. ปี 2565 พบว่า ผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลไม่มีความผิดปกติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31