การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • สุวัจน์ บุญยืน -

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ และการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอปากพลี  จังหวัดนครนายก มีระยะเวลาในการศึกษาในเดือนตุลาคม 2563 ถึง กันยายน 2565 มีระยะเวลาในการศึกษา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (Research) การศึกษาต้นแบบ รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหัวลิงใน ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี  จังหวัดนครนายก ศึกษาในเดือนตุลาคม 2563 ถึงเดือน กันยายน 2564 กลุ่มตัวอย่าง 410 คน ระยะที่ 2 (Development) การขยายผล  รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอปากพลี  จังหวัดนครนายก ศึกษาในเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือน กันยายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง 5,059 คน เก็บข้อมูลจากแบบประเมินและแบบวัด วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent t – testและ F – test ด้วยเทคนิค One way ANOVA

     ผลการศึกษา พบว่า ระยะที่ 1 (Research) การศึกษาต้นแบบ รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหัวลิงใน ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี  จังหวัดนครนายก ศึกษาในเดือนตุลาคม 2563 ถึงเดือน กันยายน 2564 ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล(Barthel Activities of Daily Living : ADL) ของผู้สูงอายุ หลังดำเนินการไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากก่อนดำเนินการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ พฤติกรรมการปฏิบัติ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” หรือ 4 Smart ก่อน และความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบความสุข 5 มิติ หลังดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดและ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สูงกว่าก่อนการดำเนินงาน

     ระยะที่ 2 (Development) การขยายผล  รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอปากพลี  จังหวัดนครนายก ศึกษาในเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือน กันยายน 2565 ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล(Barthel Activities of Daily Living : ADL) ของผู้สูงอายุ อำเภอปากพลี  จังหวัดนครนายก หลังดำเนินการมีผู้สูงอายุติดบ้าน(ADL คะแนนระหว่าง 5 - 11) ลดลงจาก ร้อยละ 7.80 เป็น ร้อยละ 3.04 และมีผู้สูงอายุติดบ้าน(ADL คะแนนระหว่าง 0 – 4 ) ลดลงจาก ร้อยละ 1.15 เป็น ร้อยละ 0.89 และความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ พฤติกรรมการปฏิบัติ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” หรือ 4 Smart และความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบความสุข 5 มิติ  หลังการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สูงกว่าก่อนการดำเนินงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31