การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง

ผู้แต่ง

  • ลิกิจ โหราฤทธิ์ -
  • ยุภาพร จิตรจัก

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ความปวด, การจัดการความปวด, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง ดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนมกราคม 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 ได้บูรณาการโดยใช้แนวคิดศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (The center for advanced nursing practice evidence-based practice model) การดำเนินการพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหา 2) ระยะของการดำเนินงาน และ 3)ผลการนำไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยศัลยกรรมที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง ในโรงพยาบาลหนองคาย ระหว่างเดือนมกราคม 2564 -  มิถุนายน 2564 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการปฏิบัติฯ ของพยาบาล แบบประเมินประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติฯ ของพยาบาล แบบประเมินความปวด แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการจัดการความปวด วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน

     ผลการศึกษา พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง มี 4 ระยะ คือ การพยาบาล ระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง ร้อยละ 90 มีระดับความปวดลดลงที่หลังผ่าตัด 72 ชั่วโมงอยู่ในระดับปานกลาง พึงพอใจต่อการจัดการความปวดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 27.21, SD = 1.07) พยาบาลทุกคนใช้วิธีการจัดการความปวดโดยใช้ยา ร้อยละ 80 และแนวปฏิบัตินี้มีประสิทธิภาพด้านการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 5.95, SD = 0.22)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31