การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์เทียม:กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • รวินท์นิภา ภักดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผ่าตัดต้อกระจก, การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อหลังผ่าตัด

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์เทียม กรณีศึกษาจำนวน 1 ราย ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 61 ปี มาด้วยอาการสำคัญ ตาข้างซ้ายมัว มองไม่ชัด ก่อนมาโรงพยาบาล 15 วัน แพทย์จักษุนัดผ่าตัดตาข้างซ้ายด้วยเครื่องสลายต้อกระจก เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวันที่ 3 สิงหาคม 2566

     ผลการศึกษาพบว่า ระยะก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวลกลัวการผ่าตัด และเสี่ยงติดเชื้อหลังผ่าตัดจากผู้ป่วยและญาติขาดทักษะการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด ระยะผ่าตัด เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากฉีดยาชาเฉพาะที่ เสี่ยงต่อผ่าตัดผิดคน ผิดข้าง ผิดเลนส์ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากการใช้เครื่องมือผ่าตัด เสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรคขณะผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัด เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากพร่องการมองเห็น มีอาการปวดตา ข้างซ้ายที่ผ่าตัด เสี่ยงติดเชื้อหลังผ่าตัด พร่องทักษะการดูแลตนเองที่บ้านเรื่องการหยอดยา การเช็ดตา การเก็บรักษายา วันที่ 15 ส.ค. 2566 ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลก่อนนัด ด้วยอาการ น้ำตาไหล ปวดตา ตาข้างซ้ายมัวลง จักษุแพทย์วินิจฉัยติดเชื้อในลูกตา พยาบาลประสานส่งต่อไปรักษาโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดวุ้นตา(Pars plana vitrectomy) ฉีดยาปฏิชีวนะเข้าช่องน้ำวุ้นตา (Intravitreal Injection)และล้างหนองออกจากช่องตา พยาบาลได้เตรียมความพร้อมระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัดและจำหน่ายกลับบ้าน โดยประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาล การประเมินแบบแผนสุขภาพ และวางแผนจำหน่ายแบบDMETHOD ติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง หลังผ่าตัดผู้ป่วยปลอดภัย ได้รับการฟื้นฟูสภาพ และจำหน่ายกลับบ้าน

References

กระทรวงสาธารณสุข.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2563). ชุดข้อมูลอัตราการผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป. สืบค้นวันที่ 8 สิงหาคม 2566.จากhttps://data.go.th/dataset/dataset-ip_21_02

กำธร มาลาธรรม และยงค์ รงค์รุ่งเรือง.(2560). คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์ (2566). คู่มือการพยาบาลพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : หจก.เอ็นพีเพรส จำกัด.

ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. (2563). จักษุจุฬา. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร จำกัด.

ธารินี เสงี่ยมพรพาณิชย์. (ม.ป.ป.). การผ่าตัดรักษาต้อกระจกและเลนส์แก้วตาเทียมชนิดต่างๆ. ม.ป.ท. ม.ป.พ. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.bangkokhospital.com/content/Cataract-surgery-and-intraocular-lens.

พรศิริ พันธสี .(2566).กระบวนการพยาบาล&แบบแผนสุขภาพ การประยุกต์ใช้ทางคลินิค.พิมพ์ครั้งที่ 30.กรุงเทพฯ :พิมพ์อักษร จำกัด.

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (2563). ต้อกระจกโรคเสี่ยงผู้สูงวัย. สืบค้นวันที่ 7 สิงหาคม2566. จากhttps://www.siphhospital.com/th/news/article/share/cataract

ละมิตร์ ปึกขาว, เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และกาญจนา หัตถรังสี. (2563). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก แบบมีส่วนร่วมอย่างเอื้ออาทร ตามทฤษฎี Swanson โรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29(5): 865.

วงเดือน สุวรรณคีรี และยุพเรศ พญาพรหม.(2560). การป้องกันและการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29 ( 2 ),15-26.

แสงโสม ทรัพย์มนตรี, และนงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. (2563). การปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดของพยาบาลวิชาชีพ. พยาบาลสาร, 47 (3),204-212

สมสงวน อัษญคุณและคณะ. (2560). โรคตาที่พบบ่อยในเวชปฎิบัติ. พิมพ์ครั้งที่3. เชียงใหม่: บริษัทวินอินดีไชด์ จำกัด.

สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย และอภิชาต วชิรพันธ์. (2563). แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

Association of preoperative registered nurse:AORN.(2006).Competency ststements in Perioperative nursing.In AORN Standards,recommended practices,and guidelines.Denver:Association of perioperative registered nurses.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ภักดี ร. . (2023). การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์เทียม:กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 217–227. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1758