ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ระยะเข้าสู่โรคประจำถิ่น ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
โรคโควิด-19, พฤติกรรมป้องกันโรค, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ระยะเข้าสู่โรคประจำถิ่น ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่ อำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร จำนวน 230 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ในการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), ค่าต่าสุด (Minimum), ค่าสูงสุด (Maximum) และสถิติเชิงอนุมานใช้ Stepwise multiple regression analysis กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการปองกันโรคโควิด-19 ระยะเข้าสู่โรคประจาถิ่นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และเป็นสมการทำนายที่ดีสุด ประกอบด้วย รับรู้โอกาสเสี่ยง (β = 0.583,p-value <0.001) ปัจจัยเสริม (β = 0.250, p-value <0.001) ระดับการศึกษา (β = -0.137, p-value <0.001) คนในครอบครัวป่วยโควิด 19 (β = 0.119, p-value <0.001) และ อายุ (β = -0.090, p-value <0.001) โดยสามารถร่วมกันทานายการปองกันโรคโควิด-19 ระยะเข้าสู่โรคประจำถิ่นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ร้อยละ 64.4 (R2Adj=0.644, p-value=0.024)
References
Egypt announces first Coronavirus infection [Internet]. Egypt Today. 2020. Available from: https://www.egypttoday.com/Article/1/81641/Egypt-announces-first-Coronavirus-infection
Rodriguez-Morales AJ, Gallego V, Escalera-Antezana JP, Méndez CA, Zambrano LI, FrancoParedes C, et al. COVID-19 in Latin America: The implications of the first confirmed case in Brazil. Vol. 35, Travel medicine and infectious disease. 2020. p. 101613.
Kripattanapong S, Jitpeera C, Wongsanuphat S, Issarasongkhram M, Mungaomklang A,Suphanchaimat R. Clusters of Coronavirus Disease (COVID-19) in Pubs, Bars and Nightclubs in Bangkok, 2020. OSIR J. 2020;13(4).
Thai PBS. แกะรอย ใครคือผู้แพร่เชื้อสนามมวย-สถานบันเทิง [Internet]. Thai PBS NEWS. 2020.Available from: https://news.thaipbs.or.th/content/289996
ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.). สถานการณ์ Covid-19 ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 [Internet].2564. Available from: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/011164.pdf
Tracker CD. Rates of COVID-19 Cases and Deaths by Vaccination Status [Internet]. 2021.Available from: https://covid.cdc.gov/covid-data-tracker/#rates-by-vaccine-status
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร, สถานการณ์ Covid-19 จังหวัดสกลนคร, 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 สืบค้นจาก https://skko.moph.go.th/dward/web/index.php?module=covid19_7
สุภาภรณ์ วงธิ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ปริญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564
ตวงพร กตัญญุตานนท์ธนภรณ์ ทองศิริ อารยา พิชิตชัยณรงค์ ธันยพร กิ่งดอกไม้ สุภาพ ธรรมกุล ภาวลิน แสนคำราง และ ซัยนี่ บิลก่อเด็ม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, ว. วิทย. เทคโน. หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2564; 7(7): 8-20 สืบค้นจาก https://ph02.tci thaijo.org/index.php/scihcu/article/download/243902/165773/855445
จันทร์ชนะสอน สำโรงพล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในครัวเรือนของกลุ่มวัยทำงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม, วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2565; 8(4): 85-105 สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/257844
ปิยะนันท์ เรือนคำ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้ อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่:กรณีศึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร, วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565; 13(2): S247-S259 สืบค้นจาก https://phad.ph.mahidol.ac.th/research/2565/13.65%20Piyanan%20Article.pdf