กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียก และมีภาวะหัวใจล้มเหลว

ผู้แต่ง

  • ปานจิตต์ เอี่ยมสำอางค์ พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

คำสำคัญ:

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียก, ภาวะหัวใจล้มเหลว

บทคัดย่อ

      การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหา การวางแผนการพยาบาลในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกและมีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยศึกษาในผู้ป่วยชาย อายุ 65 ปี มาตรวจที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหงื่อออก   ใจสั่น 1 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบ ST elevate ที่ V2-V4  ถ่ายภาพรังสีทรวงอก พบ pulmonary congestion both lung และ pericardial effusion

     ผลการศึกษา พบว่า แพทย์วินิจฉัยโรคเป็น Antero- lateral wall ST Segment Elevation Myocardial Infarction with Congestive heart failure ให้การรักษาด้วยยา Isordil (5 มิลลิกรัม) 1 เม็ด   อมใต้ลิ้นทันที  ASA gr.V 1 เม็ด และ Clopidogrel (75 มิลลิกรัม) 4 เม็ด รับประทานทันที เปิดเส้นเลือดให้ 0.9% NSS  ฉีด Morphine 3  มิลลิกรัม  Lasix 40 มิลลิกรัม  ให้ Streptokinase 1.5 ล้านยูนิต เข้าทางหลอดเลือดดำ และเข้าพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม เนื่องจากหอผู้ป่วยหนักเต็ม  ในระหว่างเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมตั้งแต่แรกรับจนจำหน่าย  ผู้ป่วยได้รับการวางแผนการพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ การระงับอาการชัก  การเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมอง  การเพิ่มปริมาณเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ การเพิ่มปริมาณเลือดออกจากหัวใจใน 1 นาที  การเพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซภายในถุงลมปอด  การป้องกันอันตรายและหยุดเลือดที่ออกในระบบทางเดินอาหาร การลดการติดเชื้อทางเดินหายใจ  การรักษาความสมดุลของเกลือแร่โปแตสเซียมในเลือด การให้ความรู้การดูแลตนเองเมื่อกลับไปบ้าน ภายหลังผู้ป่วยได้รับการดูแลตามแผนการพยาบาลดังกล่าว พบว่าทุกปัญหาได้รับการแก้ไขจนหมดไป แพทย์จึงจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน

References

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิดเอสทียกสูง (ST-elevation myocardial infarction: STEMI) ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน.อัลทิเมท พริ้นติ้ง. 2564.

Tern PJW, Ho AKH, Sultana R, AhnY, Almahmeed W, Brieger D, Chew DP, Fong AYY,… , Yeo KK. Comparative overview of ST-elevation myocardial infarction epidemiology, demographics, management, and outcomes in five Asia-Pacific countries: a meta-analysis. European Heart Journal - Quality of Care and Clinical Outcomes 2021; 7(1): 6-17.

Bono LA, Puente LJ, Szarfer J, Estrella, LM, Doppler EM, Napoli Llobera ME, Ulmete ER, Gagliardi JA. In-hospital complications of acute myocardial infarction. Incidence and timing of their occurrence. Medicina (B Aires) 2021; 81(6): 978-985.

Chacón-Diaz M, a Araoz-Tarco O, Alarco-León W, Aguirre-Zurita O, Rosales-Vidal M, Rebaza-Miyasato P. Heart failure complicating myocardial infarction. A report of the Peruvian Registry of ST-elevation myocardial infarction (PERSTEMI). Arch Cardiol Max 2018; 88(5): 447-453.

กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. Health KPI: อัตราตายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI.

[อินเตอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงจาก: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=1514

Ominik Jenča D, Melenovský V, Stehlik J, Staněk V, Kettne ,J, Kautzner J, Adámková V, and Wohlfahrt P. Heart failure after myocardial infarction: incidence and predictors. ESC Heart Failure 2021; 8: 222–237.

ศูนย์ข้อมูลสานสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานผู้ป่วยรายโรคปี พ.ศ 2562- 2564 [อินทราเน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงจาก: http://somdetdata.moph.go.th/data_sys/report_/

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พ.ศ. 2563. สมุทรปราการ: เนคสเตป ดีไซน์. 2563.

สกลรัฐ ห้วยธาร. ปัจจัยทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระนารายยณ์มหาราช. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2563; 5(3): 28-36.

Wang WZ, Liu X, Yang ZY, Wang YZ, Lu HT. Diffusion tensor imaging of the hippocampus reflects the severity of hippocampal injury induced by global cerebral ischemia/reperfusion injury. Neural Regen Res 2022; 17(4): 838-844.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

เอี่ยมสำอางค์ ป. (2023). กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียก และมีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 769–778. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1808