ผลของสื่อการสอนในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชันต่อความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว ของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566

ผู้แต่ง

  • วิกานดา วิริยานุภาพพงศ์ อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ
  • เรวัติ วัชรสิทธิ์ พยาบาลวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ
  • ทิพย์เกษร วรรณภักตร์ อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ
  • ณัชชา สุทธิรุ่งเรือง นักเรียนพยาบาลทหารอากาศ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ

คำสำคัญ:

สื่อการสอนการ์ตูนแอนิเมชัน, ความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่เนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว, นักเรียนพยาบาลทหารอากาศ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างการใช้สื่อการสอนในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชันกับเอกสารความรู้ต่อความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่วของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 3 ปการศึกษา 2566 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดาเนินการวิจัย ได้แก่ สื่อการสอนการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง “การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว” และแบบประเมินความรูเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว หาค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ 0.704 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิตินันพาราเมตริกซ์ ได้แก่ Wilcoxon Signed Rank test และ Mann-Whitney U Test

     ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่วสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กาเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่วสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

References

World Health Organization. Congenital anomalies [Internet]. 2014 [cited 2023 Oct 23]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/birth-defects

ณัฏฐณิชา ศรีบุณยวัฒน. (2562). การพยาบาลเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด. พยาบาลสาร, 46(พิเศษ),128-138.

วรรณไพร แย้มมา และสุพัตรา นุตรักษ์. (2561). การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: บริษัท นีโอดิจิตอล จำกัด.

ศิริธร ยิ่งเรงเริง และประกริต รัชวัตร์. (2557). การดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี.วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 20(1), 5-14.

วราพร ดำจับ. (2566). การออกแบบสื่อแอนิเมชันเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุมชลบุรี, 9(1), 1-20.

ภควลัญช์ เพสอุน, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, และนิรัตน์ อิมามี. (2560). การพัฒนาสื่อแอนิเมชั่นเรื่อง การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจ. วารสารสาธารณสุข ศาสตร์, 47(3), 315-325.

Polit, D. and Hungler, B. (1999). Nursing Research: Principle and Method, 6th ed.; Philadelphia: Lippincott Company, P.P. 416-417.

เสรี ลาชโรจน์. (2537). หลักเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาในโรงเรียน. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นฤมล สมชื่อ, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์ และอรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์. (2559). ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และพฤติกรรมของผู้ดูแลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว. วารสารพยาบาลศาสตร์ , 34(3), 79-93

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

วิริยานุภาพพงศ์ ว., วัชรสิทธิ์ เ., วรรณภักตร์ ท., & สุทธิรุ่งเรือง ณ. (2023). ผลของสื่อการสอนในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชันต่อความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว ของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 779–786. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1814