การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน(SMI-V) โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง จำนวน 22 คน ญาติและผู้ดูแล จำนวน 22 คน และ ภาคีเครือข่าย จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาคือ รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับอาการเตือนทางจิตและปัจจัยกระตุ้นที่เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรงสำหรับญาติและผู้ดูแล จำนวน 15 ข้อ (IOC>0.5, KR-20 = 0.73) แบบประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรมก่อความรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรง (Prasri violence severity scale: PVSS) ของกรมสุขภาพจิต จำนวน 9 ข้อ แบบติดตามผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 10 ด้าน ของกรมสุขภาพจิต โดยใช้เก็บข้อมูลกับผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน จำนวน 10 ข้อ แบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน จำนวน 15 ข้อ (IOC>0.5, KR-20 = 0.85) แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน จำนวน 20 ข้อ (IOC>0.5, Cronbach’s Alpha Coefficient = 0.93) และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม(Focus Group) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และ สถิติ paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า หลังการพัฒนารูปแบบญาติและผู้ดูแลมีความรู้เพิ่มขึ้น(t=9.90, p-value <0.001) และภาคีเครือข่ายมีความรู้เพิ่มขึ้น(t=7.48, p-value <0.001) ระดับความรุนแรงของพฤติกรรมก่อความรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรงลดลง(t=8.59, p-value <0.001) ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชนความจำเป็นในการได้รับดูแลลดลง(t=9.45, p-value <0.001) และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชนเพิ่มขึ้น(t=16.55, p-value <0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ ควรส่งเสริมให้ชุมชนมีการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้นําชุมชนที่เข้มแข็ง สร้างความเข้าใจและความตระหนักในชุมชน และควรมีมาตรการทางสังคมในป้องกันแก้ไขการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันเกิดอาการกำเริบ ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชนได้
References
สุวปรียา จันต๊ะ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 4(1), 16-29.
World Health Organization. (2021). Mental health atlas 2020. World Health Organization. https://iris.who.int/handle/10665/345946.
กรมสุขภาพจิต. (2566). มาตรฐานการปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด.
กรมสุขภาพจิต. (2566). รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช. เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/report/datacenter/hdc/. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566.
Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. (1986). World management. New York: McGraw- Hill.
ชลินดา จันทร์งาม และคณะ. (2560). การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของเครือข่ายสุขภาพจิตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคํานาดี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 18(2), 55-68.
สุนันญา แสงแก้ว และคณะ (2561) ศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลแบบมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขต่อความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภท. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8(น.381-391).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อติญา โพธิ์ศรี. (2562). การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: กรณี ศึกษาที่ชุมชนบ้านท่าม่วง จังหวัดร้อยเอ็ด. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(1), 83-89.
โรงพยาบาลเสลภูมิ. (2565). รายงานสรุปผลการดำเนินงานจิตเวชและยาเสพติด ปี 2565.
รัศมี ชุดพิมาย. (2565). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(3), 851-867.
วราภรณ์ มั่นคั่ง, จินตนา วัชรสินธุ์ และวรรณี เดียวอิศเรศ. (2559). ปัจจัยครอบครัวที่มีผลต่อการใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นชายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 11(2), 53-36.