การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่มีภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง ร่วมกับมีภาวะน้ำท่วมปอด : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, การผ่าตัดคลอด, ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์, ภาวะน้ำท่วมปอดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่มีภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรงร่วมกับมีภาวะน้ำท่วมปอด โดยศึกษาในผู้ป่วยหญิงชาวพม่า อายุ 37 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลปากช่องนานา วันที่ 9 กรกฎาคม 2566 ด้วยอาการหายใจเร็ว เจ็บครรภ์คลอด มีน้ำเดิน ก่อนมาโรงพยาบาล 3 ชั่วโมง วินิจฉัยแรกรับ G3P2 AL2GA 37+3wks with Labor pain with hyperthyroid with breech presentation with severe pre-eclampsia with pulmonary edema
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย ได้รับการผ่าตัด Caesarean section with TR due to breech presentation with severe preeclampsia หลังผ่าตัดเข้ารับการดูแลรักษาที่ห้องผู้ป่วยหนัก และย้ายมาดูแลต่อที่หอผู้ป่วยหลังคลอด ขณะดูแลที่หอผู้ป่วยหลังคลอด พบว่า มารดาหลังคลอดมีโอกาสเกิดภาวะชัก เนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง เสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับยา MgSO4 พยาบาลให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ด้วยการตรวจวัดสัญญาณชีพ เฝ้าระวังควบคุมระดับความดันโลหิต สังเกตอาการผิดปกติจากการได้รับยา MgSO4 บรรเทาอาการปวดแผลผ่าตัด เมื่อเข้าสู่ระยะฟื้นฟูเฝ้าระวังการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ส่งเสริมให้บุตรได้ดูดนมแม่
References
กรมอนามัย. (2561). สถิติสาธารณสุขอัตราส่วนการตายมารดา. กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
กนกวรรณ ฉันธนะมงคล. (2560). การพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
เพิ่มศักดิ์ สุเมฆศรี และคณะ. (2560). ก้าวไปด้วยกันเพื่อการบริบาลปริกำเนิด 4.0. สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศ. บริษัท ยูเนียน ครีเอชั่น จำกัด.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2563). การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2558). การดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษ RTCOG ClinicalPractice Guideline Management of Preeclampsia and Eclampsia.
ราชวิทยาลัยสิตูนรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2563). การดูแลความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์. คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2562-2564.
American College of Obstetricians and Gynecologists. (2013). Report of the American college of Obstetricians and Gynecologists’Task Force on Hypertension in Pregnancy.Obstet Gynecol; 122 (5): 1122-31.