กรณีศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายเพื่อการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารด้วยกล้องวีดีทัศน์

ผู้แต่ง

  • จันทนา สาทกลาง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลปากช่องนานา

คำสำคัญ:

การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย, โรคอ้วน, การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารด้วยกล้องวีดีทัศน์

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางในการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคอ้วนในการให้ยาระงับความรู้สึกชนิดทั่วร่างกายเพื่อการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารด้วยกล้องวีดีทัศน์ โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีค่าดัชนีมวลกาย(BMI) มากกว่า 40 Kg/M2 ซึ่งเป็นเคสแรกของโรงพยาบาลปากช่องนานา ระหว่างวันที่ 24 -30 กันยายน 2566 จำนวน 1 ราย

     ผลการศึกษา พบว่า หญิงไทยอายุ 30 ปี แพทย์นัดมาผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารด้วยกล้องวีดีทัศน์ แพทย์วินิจฉัย  Morbid Obesity with OSA with Hypertension ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร (Laparoscopic sleeve gastrectomy) ใช้วิธีให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ก่อนเริ่มดมยาสลบพบความดันโลหิตสูงได้รับยา Labetalol 15 mg ทางหลอดเลือดดำ มีความเสี่ยงในเรื่องการใส่ท่อช่วยหายใจยาก ขณะนำสลบช่วยหายใจได้โดยใช้อุปกรณ์ช่วยและสามารถใส่ท่อช่วยหายใจได้โดยวิธี Video Laryngoscope ขณะผ่าตัดไม่พบภาวะแทรกซ้อน สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ หลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้นมีอาการปวดแผลผ่าตัดมาก หลังจากแก้ไขปัญหาจนปลอดภัยส่งกลับดูแลต่อที่หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 1วัน มีปัญหา ปวดแผล แก้ไขปัญหาจนดีขึ้น และย้ายไปยังหอผู้ป่วยศัลยกรรม 5 วันรวมระยะเวลาการรักษา 6 วัน จากการให้การพยาบาลโดยการวางแผนการพยาบาลทางวิสัญญีทั้งในระยะก่อนผ่าตัด  ขณะผ่าตัด  และหลังผ่าตัด รวมทั้งการติดต่อประสานงานกับหอผู้ป่วยเพื่อวางแผนดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น   ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้

References

เบญจรัตน์ หยกอุบล, นรุตม์ เรือนอนุกูล, อรักษณ์ รอดอนันต์, และงามจิตร์ ภัทรวิทย์.(2564). วิสัญญีมีภูมิ. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย,2564

ฐิติมา ชีนะโชติ, แสงโสม ปรียะวราภรณ์, และธารทิพย์ ประณุทนรพา.(2541)., วิสัญญีวิทยาระดับพื้รฐาน.(พิมฑ์ครั้งที่1).กรุงเทพฯ:พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

เยาวลักษณ์ หอมวิเศษวงศา, จิราภรณ์ ชวนรัมย์, และศิริวรรณ อาจบุราย.(2563).การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลืดอุดตันหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน ในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก(รายงานการวิจัย).วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์,543-554.สืบค้นจากhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/248111

สุริยะ พันธ์ชัย.(2556) การรักษาโรคอ้วนด้วยวิธีการผ่าตัด(Bariatric Surgery)(รายงานการวิจัย).ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, การประชุมวิชาการ ครั้งที่29 ,2556 สืบค้นจากhttp://202.28.95.4/library/main/eproceefing/Sym_116_126.pdf

กำธร ยลสุริยันวงศ์, ชนิดของการผ่าตัดโรคอ้วน(Bariatric Surgery).โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สืบค้นจากhttps://secoms.medicine.psu.ac.th/Information1.php?S=37

โครงการสุขภาพคนไทย.2557.ตัวชี้วัด“โรคอ้วน”สุขภาพคนไทยไทย 2557 (หน้า6-32).นครปฐม: สถาบันวิจัย ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

สาทกลาง จ. (2023). กรณีศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายเพื่อการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารด้วยกล้องวีดีทัศน์ . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 171–179. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1880