กระบวนการเสริมสร้างความเข้าใจสาหรับผู้ปกครองในการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่เป็นเด็กที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) เด็ก โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม

ผู้แต่ง

  • ธิดา ชื่นชม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

ป่วยธาลัสซีเมียที่เป็นเด็ก, กระบวนการเสริมสร้างความเข้าใจ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจของผู้ปกครองในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เป็นธาลัสซีเมียก่อนและหลังได้รับกระบวนการเสริมสร้างความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่เป็นเด็ก ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566รวม 4 เดือนกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่เป็นเด็กที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม จำนวน 27 คน คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G Power เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดความเข้าใจของผู้ปกครองต่อกระบวนการเสริมสร้างความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่เป็นเด็ก ได้แก่ แบบวัดความรู้ แบบประเมินการปฏิบัติของผู้ปกครองในการดูแลผู้ป่วย และแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่เป็นเด็กการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard deviation, SD)  และสถิติอนุมานในการเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Dependent t – test

     ผลการศึกษาพบว่า ความเข้าใจของผู้ปกครองในการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่เป็นเด็กหลังดำเนินการกระบวนการเสริมสร้างความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่เป็นเด็ก โดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนดำเนินการ และเมื่อเปรียบเทียบความเข้าใจของผู้ปกครองต่อกระบวนการเสริมสร้างความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่เป็นเด็ก ก่อนและหลังดำเนินการ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value <.05)

References

Weatherall DJ, Clegg JB, editors.(2001). The Thalassaemia Syndromes.b 4 th ed. Oxford: Blackwell Science.

มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแหงประเทศไทย.(2557). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียพ.ศ. 2557 (Clinical practice guidelines for diagnosis and management of thalassemia syndromes 2014). พิมพครั้งที่ 1. พฤศจิกายน.

Adamson JW.(2015). Section 2 hematopoietic disorders Part 7 Oncology and Hematology. In: Kasper D, Fauci A, Hauser S, Longo D, Jameson JL, Loscalzo J eds. Harrison's Principles of Internal Medicine, 19th ed. Mc Graw Hill Medical.

Cook K. (2017). Section 15 hematologic disorders Chapter 100 Anemias. In: DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey LM, eds. Pharmacotherapy: A Pathophysiologic Approach, 10th ed. New York: McGraw-Hill.

Tanphaichitr VS. Current situation of thalassemia in Thailand. The 7th International Conference on Thalassemia and Hemoglobinopathies; 1999; Bangkok: Ministry of Public Health, Thailand; 1999:78-9.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2560). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์

Vichinsky E and Levine L.(2012). Standards of care guidelines for thalassemia. Children’s Hospital & Research Center Oakland. Version 3 , date 27 /ก.ค./2566 16

คณะกรรมการทบทวนคู่มือปฏิบัติงานการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติทางห้องปฏิบัติการ.(2558).คู่มือทางห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ.พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี: สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์,ฉบับปรังปรุง.

Choladda N.(2010). The effect of learning program through a group process and cartoon storybook to self-care behavior in school age children with Thalassemia. (Master of Nursing Thesis]. Khonkhaen: KhonkhaenUniversity. (in Thai).

Pronsri B.(2003). Effects of teaching program using group process, on self-care behaviors in school age children with Thalassemia.[ Master of Nursing Thesis]. Khonkhaen: Khonkhaen University. (in Thai).

Maneerat S. (2004). Maneerat S. Factors influencing self-esteem of school-age children with Thalassemia. [Master of Nursing Thesis]. Songkla: Prince of Songkla University. (in Thai).

รัชนีกร กุตระแสง (2559) ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการครอบครัวต่อการจัดการของมารดาและภาวะสุขภาพของเด็กวัยเรียนที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย วิทยานิพนธ์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ประกริต รัชวัตร์ และนัยนา ภูลม. (2565) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ . 15(1) 334-349.

ภูษณิศา มาพิลูน, ปรีย์กมล รัชนกุล และวาริยา หมื่นสา. (2559) ผลของโปรแกรมการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย และความสามารถในการดูแลเด็กของผู้ดูแลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็ก. วารสารสภาการพยาบาล. 31(2)

ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล, พจนารถ สารพัดและมณีพร ภิญโญ. (2563). รูปแบบการจัดการตนเองของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 28(2) 27 – 39.

กนกวรรณ ภัทรมัย. (2562). การสนับสนุนทางสังคมและภาระในผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมียวิทยานิพนธ์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุภดี สงวนพงษ์ และกมลรัตน์ ทองสว่าง. (2564)ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย จังหวัดชัยภูมิ วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 15(37) 262-281.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ชื่นชม ธ. (2023). กระบวนการเสริมสร้างความเข้าใจสาหรับผู้ปกครองในการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่เป็นเด็กที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) เด็ก โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 180–189. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1882