การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักร่วมกับภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลกาฬสินธุ์: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, กระดูกข้อสะโพกหัก, การพยาบาลผู้ป่วยข้อสะโพกหักร่วมกับภาวะแทรกซ้อนบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ประวัติ อาการเจ็บป่วย แผนการรักษา การเกิดภาวะแทรกซ้อนและการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักร่วมกับภาวะแทรกซ้อน กรณีศึกษา 2 ราย เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกระดูกข้อสะโพกหัก ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง มีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหัก จำนวน 2 ราย และเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อหญิง โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ในระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนตุลาคม 2566 และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียน จากผู้ป่วย และญาติกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิด 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน วางแผน ปฏิบัติการ พยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลสรุปและประเมิน ผลลัพธ์ทางการพยาบาล โดยเปรียบเทียบผู้ป่วยกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย
ผลการศึกษา: กรณีศึกษา รายที่1 เพศหญิง อายุ 65 ปี อาการสำคัญ ลื่นล้มปวดสะโพกด้านซ้าย เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 4 ชั่วโมง ประวัติโรคร่วม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด Closed reduction with internal fixation with Proximal Femoral Nail Antirotation (PFNA) หลังการรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านพ้นภาวะวิกฤตและได้รับการรักษาภาวะแทรกซ้อนฟื้นฟูสภาพก่อนการจำหน่ายอาการดีขึ้นตามลำดับ แพทย์จำหน่ายกลับบ้านกรณีศึกษา รายที่ 2 เพศหญิง อายุ 85 ปี อาการสำคัญ ลื่นล้มขณะเดินเป็นก่อนมาโรงพยาบาล 12 ชั่วโมง ประวัติโรคร่วม เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด Opened reduction with internal fixation with Cephalomedullary nail right femur หลังการรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านพ้นภาวะวิกฤตและได้รับการรักษาภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสภาพก่อนการจำหน่ายอาการดีขึ้นตามลำดับ แพทย์จำหน่ายโดยส่งต่อ โรงพยาบาลชุมชน
References
Williams MA, Oberst MT, Bjorklund BC, Hughes SH. Family caregiving in cases of hip fracture. Rehabilitation Nursing 1997;21(3):124-38.
Matteson M, McConnell ES, Linton AD. Gerontological nursing: concepts and practice. Philadelphia: Saunders;1997.(in Thai).
Matteson M, McConnell ES, Linton AD. Gerontological nursing: concepts and practice. Philadelphia: Saunders;1997.(in Thai).
Tasuwanin T. Falling and falling in the elderly. Journal of Public Health Research 2014;5(2):119-31.(in Thai).
Hfocus. Hfocus news agency delves into health systems. An interview with Dr. Lak Chutithamanan:Hip fracture requires surgery as soon as possible. Reduce the risk of complications [internet].2017.[cited 14 November 20121]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2017/02/13398.(in Thai).
สถิติข้อมูล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.ฐานข้อมูล HDC,สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, 2566.
สถิติข้อมูล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. งานข้อมูลและสถิติ. กาฬสินธุ์: โรงพยาบาลกาฬสินธุ์; 2563-2565. (คัดสำเนา)
กนกพร จิวประสาท,การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก : ประเด็นท้าทายทางการพยาบาล, วชิรสารการพยาบาล,บทความวิชาการ,ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม –มิถุนายน 2562.
จิตติมา เอกวิโรจนสกุล. (2562). การป้องกันกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยสูงอายุที่เคยกระดูกสะโพกหักในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 สุพรรณบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(1), 39-49.
ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหัก ข้อเคลื่อนที่ใส่ external device. ใน ณัฐมา ทองธีรธรรม, ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง, พรสินี เต็งพานิชกุล, และอรพรรณ โตสิงห์ (บ.ก.), การพย าบาล ผู้ป่วยทาง ออร์โธปิดิกส์ (น. 116-118). กรุงเทพฯ: โครงการต ารา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
พัชราพร ตาใจ, บุญญภักดิ์ เห่งนาเลน, เยาวลักษณ์ สงวนพานิช. กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ:บทบาท พยาบาลในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนก่อนและหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก.วารสารมหาวิทยาลัยคริส เตียน. 2563, 26(4): 116-128