รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนาคุณภาพ, การบริหารความเสี่ยง, มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการพัฒนาคุณภาพ การบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลกาฬสินธุ์จำนวน 32 คน และผู้รับผิดชอบงานบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาลรวม 120 คน ศึกษา ระหว่างเดือนมีนาคม 2566-เดือนกันยายน 2566 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสังเกต และการสนทนากลุ่ม ออกแบบการวิจัยโดยใช้กระบวนการ PAOR ตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart มี 4 ขั้นตอนคือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ความเสี่ยงทางที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการจากการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ในคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล เพื่อวางแผนการพัฒนา 2) ลงมือปฏิบัติตามแผน โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริหารความเสี่ยง ,กิจกรรมรณรงค์3P Safety ,มาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย, การลง Risk round และ โปรแกรม Dash board 3) สังเกต การปฏิบัติตามแผน ได้แก่ การค้นหา การวิเคราะห์ การจัดการ และการประเมินผลความเสี่ยง 4) สะท้อนผลการปฏิบัติโดย ติดตามประเมินผล นำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ใช้ Paired Samples t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ คือ KLS Model ประกอบด้วย K=Knowledge มีความรู้เรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง, L=Learning เรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ไม่โทษที่ตัวบุคคลมองเชิงระบบ, S=Sensitive การไวต่อความเสี่ยงมีการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ผลของการพัฒนาคุณภาพ การบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ส่งผลให้ผู้ร่วมวิจัยมีระดับความรู้ การปฏิบัติ การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจ และวัฒนธรรมความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นก่อนดำเนินการการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)
References
Supachutikul A. Hospital Risk Management System. 5th edition. Bangkok: Dec Co., Ltd;2001.
ผ่องพรรณ จันธนสมบัติ .การบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในโรงพยาบาล.สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล.กรุงเทพฯ; 2561.
Kemmis & Mc Taggart R. (Eds). The Action Research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University press; 1990.
Institute for Hospital Quality Assurance and Development. Patient and Personal safety: Concept and Practice. Bangkok: Dee Co., Ltd;2003.
พัฑฒิดา สุภีสุทธิ์. การบริหารความเสี่ยงในองค์กรพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนที่คัดสรร.ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา; 2552.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). แบบสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล (Hospital Survey on Patient Safety Culture): กรุงเทพฯ;2560.
ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์.ข้อมูลผู้รับบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน; 2565.
ศูนย์พัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. คู่มือบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์;2565.
ภัทร์ธิตา โภคาพันธ์.การพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการความเสี่ยงด้านคลินิกตามมาตรฐานงานผู้ป่วยในของพยาบาลโรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารพยาบาลทหารบก;2555.
กนกพร ยอดยศ. การพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยงละการแจ้งเตือนในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด: วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน;2562.
นภัสภรณ์ เชิงสะอาด. การพัฒนารูปแบบคุณภาพการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกตามมาตรฐานของงานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด: วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ;2561.